ต่อภาษีรถออนไลน์
ไม่พลาดข่าวสาร กดแอดไลน์ ติดตามเรา
ทุกคนที่เป็นเจ้าของรถคงเบื่อหน่ายกับการที่ต้องไปภาษีรถยนต์ด้วยตัวเอง เพราะต้องไปเข้าคิวยื่นเอกสารเสียเวลาเป็นวันๆ
แต่หลายๆ คนอาจไม่เคยทราบว่า เราไม่จำเป็นต้องเดินทางไปต่อภาษีรถด้วยตัวเองที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา
เพราะกรมการขนส่งทางบกเปิดให้บริการเสียภาษีรถผ่านระบบ ONLINE SERVICE มานานแล้ว
ขันตอนก็ง่ายๆ ไม่เสียเวลาอะไร แค่เข้าไปที่ เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก www.dlt.go.th
เลือกใช้บริการผ่านอินเตอร์เน็ต
ชำระภาษีรถผ่านอินเตอร์เน็ต
ลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน
กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ
เลือกต่อภาษี ทำตามขั้นตอนของคำแนะนำ
เลือกชำระเงิน โดยจะบวกค่าส่ง ems 40 บาท
– หักผ่านบัญชีธนาคารพาณิชย์
– หักผ่านบัตรเครดิต
– พิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถแล้วนำไปชำระที่เคาน์เตอร์ธนาคาร และตู้ ATM ธนาคารที่ร่วมโครงการ รวมถึงเคาน์เตอร์เซอร์วิส
กรมการขนส่งทางบก จะส่งใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์ไม่เกิน 7 วัน และสามารถต่อภาษีรถออนไลน์ล่วงหน้าล่วงหน้าได้ 3 เดือน
เงื่อนไขรถสำหรับยื่นชำระภาษี
รถที่สามารถยื่นชำระภาษีประจำปีผ่านระบบอินเตอร์เน็ตมีเงื่อนไขดังนี้
– ประเภทรถ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2), รถยนต์
บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) และรถจักรยานยนต์ (รย.12)
– ประเภทรถ รย.1 รย.2 และ รย.3 อายุรถไม่เกิน 7 ปี (ถ้าอายุรถเกินให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนหรือตรอ. และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)
– รถจักรยานยนต์ อายุรถไม่เกิน 5 ปี (ถ้าอายุรถเกินให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถ
เอกชนหรือตรอ. และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)
– รถค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี (รถค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี ให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนหรือตรอ. และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)
– ชำระภาษีรถล่วงหน้าก่อนสิ้นอายุภาษีได้ไม่เกิน 90 วัน
– ประเภทรถ รย.1 รย.2 และ รย.3 น้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม (ถ้าน้ำหนักรถเกิน 2,200 กิโลกรัม ให้ดำเนินการตรวจสภาพรถและยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)
– รถที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สทุกชนิด (รถติดตั้งแก๊สให้ดำเนินการตรวจสภาพถังแก๊สตามประกาศกรมฯ และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)
– รถทุกจังหวัดทะเบียน
– สถานะรถ “ปกติ” เท่านั้น
– รถที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี/ ไม่ใช่รถของหน่วยงานราชการ
– รถที่ไม่ถูกอายัด (อายัดโดยระบบงานของกรมการขนส่งทางบก)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมการขนส่งทางบก
ไม่พลาดข่าวสาร กดแอดไลน์ ติดตามเรา