‘วัดดอนจั่น’ เด็กกำพร้ากว่า 700 ชีวิต
ซึ่งถ้าหากใครนั้นได้รู้จักกับ วัดดอนจั่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ก็ จะรู้จักกันเป็นอย่างดีว่าวัดแห่งนี้เป็นที่ทำ ให้ความรู้ ให้โอกาส ให้ชีวิต ซึ่งมีความเมตตาของ พระครูปราโมทย์ตลอดจนน้ำใจจิตอาสาที่ทำให้ก่อเกิดโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต จึงทำให้วัดแห่งนี้แกเป็นโรงเรียนและสถานรับภาระเด็กด้อยโอกาสของทางภาคเหนือมายาวนานถึง 33 ปีเลยทีเดียว
ซึ่งแน่นอนค่ะเหมาะสำหรับใครหลายคนนั้นทุกคนก็มาจะนึกถึงภาพของคนที่ไปทำบุญหรือไปศึกษาปฏิบัติธรรมเพื่อแสวงหาความสงบแต่สำหรับวัดดอนจั่นในตำบลท่าศาลาอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ไม่ได้มีเพียงแค่ภาพนั้นซึ่งถ้าหากใครก็ตามที่ได้มาที่แห่งนี้ก็จะได้เห็นภาพของเราเด็กๆทั้งหลายที่ได้เข้ามาอยู่อาศัยและศึกษาเล่าเรียนเป็นสถานที่แห่งนี้ตอนที่วัดดอนจั่นแห่งนี้เป็นสถานที่อุประและให้โอกาสเด็กยากไร้ซึ่งอยู่ในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยในปัจจุบันนี้มีเด็กที่อยู่ในการดูแลของวัดเป็นจำนวนมากกว่า 700 คนเลยทีเดียว
โดยทางพระครูปราโมทย์ ประชานุกูล เจ้าอาวาสวัด ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้กล่าวว่าในเมื่อปี 2528 ทางวัดวัดดอนจั่น ได้มีการก่อตั้งโครงการนี้ขึ้นมาและในปัจจุบันโดยมีการรับผิดชอบค่าดูแลค่าใช้จ่ายทั้งหมดของเด็กทั้ง 700 ชีวิตโดยสิ่งที่พระครูปราโมทย์นั้นได้นำบริหารจัดการเด็กแห่งนี้โดยจะใช้หลักพุทธพุทธธรรมหรือได้แก่ ศีล สมาธิ และ ปัญญานั้นเอง
สำหรับเด็กที่อยู่ในการดูแลของวัดดอนจั่นนี้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเด็กกำพร้าเด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาสรวมไปถึงเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มาจากครอบครัวที่ยากจนและขาดโอกาสทางการศึกษา ซึ่งถ้าหากอยู่กันตามลำพังหรืออยู่กับพ่อแม่ที่ไม่พร้อมก็ไม่สามารถที่จะเจริญเติบโตและเรียนหนังสือหรือทำงานได้ในอนาคต โดยนอกจากพระครูปราโมทย์ที่คอยดูแลแล้วยังมีจอมศักดิ์ ประสานไกรทอง หรือ ครูเก๋ เป็นหนึ่งผู้ดูแลโรงเรียนวัดดอนจั่น ซึ่งตัวครูเก๋นั้นมีความศรัทธาในแนวคิดของพระครูปราโมทย์เป็นอย่างมากจึงได้มาอาสาให้ความรู้แก่เด็กและตัดสินใจมาเป็นคู่ผู้ปกครองและดูแลความเป็นอยู่ของที่นี่ไม่ต่างจากผู้ปกครองจริงๆของเด็กนั่นเอง โดยทุกคนที่ได้เข้ามาอยู่ที่นี่จะได้อยู่ฟรีกินฟรีมีหาให้กินครบ 3 มื้อ เลย
นอกจากที่นี่นั้นจะเป็นสถานสงเคราะห์เด็กด้อยโอกาสในจังหวัดภาคเหนือแล้ววัดดอนจั่นยังมีการเปิดสถานศึกษาโดยมีการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนไปถึงระดับมัธยมศึกษาตลอดถึงระดับวิทยาลัยโดยมีการใช้หลักธรรมะและหลักการสมาธิเข้าไปอยู่ในกิจวัตรประจำวันด้วยเสมอ
“กิจวัตรประจำวันที่เด็กต้องทำทุกวันหลังเด็กตื่นมา ก็จะทำภารกิจส่วนตัว ทำความสะอาดร่างกาย แล้วก็จะไปสวดมนตร์ ซึ่งการสวดมนตร์นี้ ท่านเจ้าคุณถือว่าทำให้เด็กจิตใจสงบ พัฒนาสมองเรื่องความจำ ถ้าเด็กจำได้ เวลาไปเรียนก็ต้องจำได้ ต่อมาก็มานั่งสมาธิ เหมือนกับว่าปรับสภาพร่างกายเด็กให้นิ่ง ไม่ยุกยิก หลังจากนี้ก็จะมาทำความสะอาดเรือนพักของตัวเองหรือไม่ก็ออกกำลังกาย 7.00 น. ก็เริ่มรับประทานอาหารเช้า พอสักช่วง 8.00 – 8.30 น.ก็เริ่มมาโรงเรียน
ในนี้ก็จะมีทั้งหมด 3 สถาบันคือ 1.โรงเรียนวัดดอนจั่น ตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ถ้าจบ ม.3 แล้วไม่ไปไหน ก็ต่อที่วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่ ศูนย์การเรียนรู้วัดดอนจั่น ซึ่งเป็นสาขาลูกมาจากสารพัดช่างห้วยแก้ว ถ้าจบจากสารพัดช่างเชียงใหม่แล้วไม่อยากไปไหน ก็ต่อมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่”
โดยสถานที่แห่งนี้นั้นนอกจากเป็นสถานที่อุปการะเด็กแล้วยังเป็นสถานที่การศึกษาที่มีการศึกษาครบครันทุกระดับชั้นใดมีการนำธรรมะมาสอดแทรกในการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วยอีกทั้งยังมีความโดดเด่นในเรื่องของการเล่นกีฬาโดยได้ว่าสถานที่แห่งนี้มีนักกีฬาสีเทาจัดจ้างอยู่เป็นจำนวนมากและกวาดรางวัลมาหลายถ้วยหลายเหรียญแล้ว
แม้ว่าสถานที่แห่งนี้จะมีจิตอาสาอย่างครูเก๋และแม่เหล็กที่เสียสละเวลามาดูแลเด็กเหล่านี้แต่ก็ยังมีสิ่งที่ทางวัดนั้นขาดแคลนอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะเครื่องอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันทั้งหลาย “ที่นี่มีนักเรียนหญิงประมาณ 450 คน จะซักผ้ารอบละ 150 คน แบ่งเป็น 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น ฉะนั้นผงซักฟอกต้องใช้จำนวนมาก แล้วผู้หญิงมีผมยาวต้องสระผม ใช้แชมพู เด็กเล็กต้องผจญกับเรื่องเหา ต้องมียาฆ่าเหา ที่จำเป็นจริงๆ คือผงซักฟอก แชมพู ยาฆ่าเหา น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ ยารักษาโรค ยาแก้เมารถเวลาเด็กเดินทางไปแข่งกีฬา ยาแก้ปวดท้องประจำเดือนของเด็กผู้หญิง แต่ขอไม่เอาพาราเซตามอล เพราะผมไม่สนับสนุนให้เด็กกิน ถ้าเด็กออกกำลังกายร่างกายจะแข็งแรง” ครูเก๋กล่าว
ส่วนทางด้านของพระครูปราโมทย์ก็กล่าวถึงเรื่องการรับบริจาคของทางวัดว่า “วัดดอนจั่นได้ใช้ทฤษฎีกฎของธรรมชาติทุกๆ เรื่อง จะไม่มีการสะสมวัตถุสิ่งของ ถ้ามีแล้วก็จะแบ่งปันให้กับองค์กรต่างๆ ที่ลำบากกว่า ที่มาขอพึ่งใบบุญ ถ้าวัดได้รับบริจาคมา ก็จะมีเจ้าหน้าที่ดูแลเป็นแผนกๆ วัสดุครุภัณฑ์ต่างๆทุกอย่างไม่ได้ใช้เงิน มาจากการบริหารโครงการของวัด วัดเราอยู่ได้โดยไม่ใช้เงิน ใช้เงินแค่ 30 % เช่นค่าไฟฟ้า เดือนละประมาณแสนกว่าบาทที่เราต้องจ่าย นี่เป็นเรื่องหนักที่สุดของวัดคือค่าไฟ เพราะเด็กกินนอนอยู่นี่เท่ากับ 1 หมู่บ้าน เพราะฉะนั้นผลประโยชน์ที่ญาติโยมบริจาค วัดดอนจั่นจะใช้ให้เป็นประโยชน์สูงสุดทุกๆ เรื่อง แต่พยายามจะไม่รับเงินบริจาค ถ้ารับก็ขอเป็นวัสดุครุภัณฑ์ ผู้ถวายก็มีความสุข อาตมารับก็มีความสุข”
บอกได้เลยว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาวัดอานจะนะน่าจะจะเป็นสารที่ปฏิบัติธรรมและสถานที่รับสงเคราะห์เด็กและให้โอกาสกับเด็กหลายๆคนก็ยังเป็นศูนย์รวมของผู้ที่มีจิตอาสาเข้ามาทำหน้าที่โดยไม่หวังผลตอบแทนอีกด้วยซึ่งถ้าหากใครสนใจที่จะเข้าช่วยเหลือทำบุญ และบริจาคสิ่งของ สามารถบริจาคได้ที่ วัดดอนจั่น ม.2 ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สอบถาม โทร. 053-240184