13 ก.พ. นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึง การเตรียมออกอนุบัญญัติเกี่ยวกับ กั ญ ช าทางการแพทย์ เพื่อรองรับร่าง พ.ร.บ. ย า เ ส พ ติ ด ให้โทษ พ.ศ. …
ไม่พลาดข่าวสาร กดแอดไลน์ ติดตามเรา
ซึ่งมีประกาศในส่วนของการนิรโทษผู้ครอบครองกัญชาด้วยนั้น ว่า หากมาแจ้งการครอบครอง กั ญ ช า ภายใน 90 วันตามที่กำหนดหลังจากกฎหมายใหญ่บังคับใช้ ก็จะไม่ต้องรับโทษ และออกแบบให้บางกลุ่มสามารถครอบครองต่อไปได้ เช่น ถ้าเป็นคนไข้จริง เป็นแพทย์แผนไทยจริง เป็นหมอพื้นบ้าน หรือจะทำงานวิจัยต่อ แต่ก็ต้องมาขออนุญาตตามกฎกระทรวงใหม่ ซึ่งผู้ป่วยก็จะได้รับการดูแลจากแพทย์แผนปัจจุบันหรือแพทย์แผนไทยในการสั่งยาจาก กั ญ ช า เพื่อดูแล โดยไม่ต้องไปหาซื้อจากนอกระบบ เป็นการคุ้มครองประชาชน ส่วนกลุ่มที่ไม่มาแจ้งก็ต้องเอาผิดตามกฎหมายเพราะการครอบครองถือว่ามีความผิด ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่สำนักงานปราบปราม ย า เ ส พ ติ ด (ป.ป.ส.) เป็นผู้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย
นพ.ธเรศ กล่าวว่า “นอกจากประกาศนิรโทษ 2 ฉบับ และกฎกระทรวงเรื่องการผลิต การปลูก สกัด วิจัย จำหน่าย และส่งออก แล้วนั้น ยังมีประกาศฉบับอื่นๆ ที่เร่งดำเนินการอีก ซึ่งจะมีเรื่องของประกาศตำรับยาจากกัญชา ซึ่งได้ให้กรมการแพทย์และกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ไปดูว่าโรคอะไร ตำรับอะไรบ้างที่จะใช้ กั ญ ช า บำบัดรักษา และกำลังไปดูวิธีในการเขียนประกาศอยู่ว่า ทั้งแผนปัจจุบันและแผนไทยจะอยู่ในประกาศเดียวกันหรือไม่ หรือหากสะดวกอาจออกประกาศแยกกันก็ได้ และอีกฉบับจะเป็นประกาศประเภทแพทย์แผนไทยว่า แพทย์แผนไทยประเภทไหนที่สามารถใช้ได้ ส่วนประกาศอื่นๆ จะเป็นลักษณะของระบบรายงาน ระบบหลังบ้านต่างๆ”
ซึ่งตรงนี้เราเคยทำกับ ย า เ ส พ ติ ด ทางการแพทย์อื่นๆ อย่าง ม อ ร์ ฟี น มาแล้ว ก็จะมีความคล้ายกัน ซึ่งการออกอนุบัญญัติเหล่านี้ก็เพื่อให้ดำเนินการตามกฎหมายได้ แต่อะไรที่อาจเป็นอุปสรรคก็อาจออกแนวทางเพิ่มเติมได้ โดยอาจออกประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือออกเป็นไกด์ไลน์ได้ ถือเป็นการพัฒนา
เมื่อถามว่า ผู้ป่วยที่มาแจ้งครอบครองกัญชา ต้องเป็นผู้ป่วยโรคตามที่กำหนดหรือไม่ นพ.ธเรศ กล่าวว่า “ขณะนี้กลุ่มโรคเป็นตามที่เราคุยกับกรมการแพทย์ คือ กลุ่มแรก มี 4 โรคชัดเจนที่สามารถใช้ได้ กลุ่มสอง คือ น่าจะมีประโยชน์ และอีกกลุ่มทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งคิดว่า 2 กลุ่มนี้ที่อาจเปิดกว้าง แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพ อย่างมะเร็งระยะสุดท้าย ที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่ไม่ได้รักษามะเร็ง หรือกลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้าย อาจทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่จะใช้กัญชาในการบำบัดโรคนั้น ได้ให้กรมการแพทย์ประมาณการณ์จำนวนผู้ป่วยและปริมาณที่ต้องการใช้กัญชาในการบำบัดรักษาโรค เพราะประเทศไทยอยู่ใต้สนธิสัญญา ดังนั้น โควต้าการผลิตต้องแจ้งให้องค์การควบคุมยาเสพติดระดับโลก ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศออสเตรียรับทราบด้วย”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ 4 กลุ่มโรคที่สามารถนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ คือ ลมชักในเด็ก กล้ามเนื้อเนื้อแข็ง ผู้ป่วยมะเร็งที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการได้รับยาเคมีบำบัด และปวดเรื้อรัง ส่วนอีก 2 กลุ่มโรค คือ กลุ่มโรคที่น่าจะมีประโยชน์ทางการแพทย์ อาทิ โรคพาร์กินสัน อัลไซเมอร์ เครียด และการใช้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ส่วนอีกหนึ่งกลุ่มคือ กลุ่มที่อาจจะมีประโยชน์ เช่น การใช้นำมันกัญชาในการฆ่าเซลล์มะเร็ง ซึ่งจะต้องเริ่มวิจัยตั้งแต่หลอดทดลอง และระดับคลินิกต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก ข่าวสดออนไลน์
ไม่พลาดข่าวสาร กดแอดไลน์ ติดตามเรา