อย. เตือน !! ท่านที่เป็น 4 โรคนี้ ห้ามทานผักชนิดนี้เด็ดขาด โรคอื่นควรทานอย่างระวัง

 

อย.ออกมาเตือน!! โรคต่อไปนี้ห้ามทานผักชนิดนี้เด็ดขาด โรคอื่นควรทานอย่างระวัง

ผักผลไม้ทุกชนิด ใช่ว่าทุกคนจะกินได้!! เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต!! อย.ย้ำเตือนผู้ป่วย ห้ามกินเด็ดขาด เพราะจะส่งผลกระทบกับโรคที่เป็นอยู่ หากไม่รู้และกินไป อาจส่งผลทำลายถึงชีวิตได้

อย. ออกมาเตือน โรคธาลัสซีเมียอย่ากินเห็ดฟาง ผู้ป่วยไตเรื้อรังเลี่ยงหน่อไม้-ใบขี้เหล็ก ส่วนไทรอยด์แนะให้กินกะหล่ำปลีสุก

ช่วงเช้าแบบนี้คิดเมนูทานอะไรดี เชื่อว่าใครๆ ก็รู้กันดีว่าผักผลไม้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ทั้งนั้น แต่ว่าในผู้ป่วยบางโรค “ผัก” หรือ “ผลไม้” บางชนิด? กลับเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะอาจไปกระทบกับโรคที่เป็นอยู่ได้ โดยเฉพาะในผู้มีโรคประจำตัว และแน่นอนที่สุดหากได้รับมากเกินไป หรือปรุงไม่ถูกหลักอนามัย อันตรายก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน

เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 2 เม.ย.ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เผยแพร่ผ่านแฟนเพจ “@FDAThai” ให้ข้อมูลว่า

ผู้ป่วยโรคไต

ควรหลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มีสารของ “กรดออกซาลิก” ปริมาณสูง อาทิ มันสำปะหลัง ดอกกะหล่ำ ผักโขม ปวยเล้ง เป็นต้น เนื่องจากกรดดังกล่าวสามารถจับกับแคลเซียม ตกตะกอนเป็นก้อนนิ่วที่ไต นอกจากนี้ผู้ป่วยไตเรื้อรัง ควรหลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มี “โพแทสเซียม” สูง เช่น หน่อไม้ ใบขี้เหล็ก ทุเรียน มะละกอ เป็นต้น

ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย

โรคเลือดจางที่มีสาเหตุจากความผิดปกติทางพันธุกรรม มีปริมาณธาตุเหล็กสูง แต่ไม่สามารถนำมาสร้างเม็ดเลือดแดงเองได้ ทำให้เกิดภาวะธาตุเหล็กสูงในเลือด ซึ่งเป็นอันตราย ฉะนั้นหลีกเลี่ยงอาหารที่มี “ธาตุเหล็ก” สูง เช่น ตับสัตว์ เครื่องในสัตว์ รวมไปถึงผักผลไม้ที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ผักกูด ถั่วฝักยาว ผักแว่น เห็ดฟาง ใบตำลึง ใบแมงลัก ส้ม เป็นต้น

ผู้ป่วยโรคไทรอยด์

สิ่งที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ระวังคือ พืชวงศ์ผักกาด (Cruciferae) ได้แก่ กะหล่ำปลี ทูนิป ฮอร์สแรดิช (horseradish) และเมล็ดพรรณผักกาดชนิดต่างๆ ซึ่งผลที่เกิดขึ้น คือ จะทำให้เกิดเป็น “โรคคอหอยพอก” แต่สารพิษเหล่านี้จะถูกทำลายโดยการต้ม จึงควรรับประทานกะหล่ำปลีสุกดีกว่ากะหล่ำปลีดิบ

ผู้ป่วยโรคกระเพาะและลำไส้

หลีกเลี่ยงพริก เพราะจะทำให้กระเพาะอักเสบได้ และยิ่งผู้ป่วยที่เป็น “มะเร็งกระเพาะ” หากกินพริกมากไปจะทำให้อาการเป็นหนักมากขึ้น เนื่องจากพริกมีสารที่เรียกว่า “แคปไซซิน” ซึ่งออกฤทธิ์เผ็ดร้อน พบมากในส่วนของรกพริก (เยื่อแกนกลางสีขาวของเม็ดพริก) และเมล็ดพริก ดังนั้นจึงทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร แลทวีความรุนแรงของโรคขึ้นได้

กินไม่ระวังอันตรายกว่าที่คุณคิด ทั้งนี้ก็อยากให้เพื่อนๆ ตรวจเช็กดูให้ดีก่อนว่าอาหารผักผลไม้แต่ละชนิดเหมาะกับเราไหม เพื่อความปลอดภัยของชีวิต

ขอบคุณข้อมูลจาก : dailynews / FDAThai

ใส่ความเห็น