น้ำคั้นจากใบย่านาง ดื่มแล้ว สร้างภูมิคุ้มกันภูมิแพ้ แพ้อากาศ ขับสารพิษ ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง

 

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่า น้ำคั้นจากใบย่านาง มีสารคลอโรฟีลล์ (Chlorophyll) ช่วยปรับ ความสมดุลของร่างกาย มีฤทธิ์เย็น เด็ดใบมาคั้นน้ำเป็นน้ำซุบ ปรุงอาหารได้หลายอย่าง จะใช้น้ำที่คันผสมลงในอาหาร เช่น แกงอ่อมต้มแชบ ,ซุบหน่อไม้

ประโยชน์ ของสารคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ที่ร่างกายได้รับ

1. ทำให้สดชื่น หายเหนื่อยจากการอ่อนเพลีย

2. ลดความดันโลหิต ลดปัญหาเส้นเลือดหัวใจตีบ

3. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน

4. สร้างภูมิคุ้มกัน โรคภูมิแพ้ แพ้อากาศ

5. ขับกรดจากข้อต่อต่างๆ ทำให้อาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัว

6. ขับสารพิษออกจากร่างกาย สารตกค้างของยาปฏิชีวนะ สารเคมีตกค้างในอาหาร ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานดี สุขภาพแข็งแรง สดชื่นขึ้น

7. เพิ่มประสิทธิภาพเม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดีขึ้น

8. ป้องกันการเจริญเติมโตของเซลล์มะเร็ง

9. ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย, การใช้รักษาแผลอักเสบ, แผลเปื่อย, แผลเรื้อรัง, แผลถลอก, แผลไฟไหม้, เหงือกอักเสบ, แผลในปาก

10. บรรเทาอาการปวดศีรษะทั่วไป และปวดศีรษะไมเกรนได้

11. ช่วยให้ผู้ที่เป็นต้อกระจกมองเห็นได้ดีขึ้น

12. มีสารอาหารบำรุงเส้นผม ทำให้ผมหงอกดำขึ้น ช่วยลดอาการผมร่วง

 

วิธีใช้ ใช้ใบย่านาง ในการเพิ่มคลอโรฟิล คุ้มครองเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ ปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุล แบบร้อนเกิน ดังนี้

– เด็ก ใช้ใบย่านาง 1-5 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว 200 – 600 ซีซี

– ผู้ใหญ่ ที่รูปร่างผอม บางเล็ก ทำงานไม่ทน ใช้ 5-7 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว

– ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็กทำงานทน ใช้ 7-10 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว

– ผู้ใหญ่ที่รูปร่างสมส่วน ตัวตัวโต ใช้ 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว

โดยใช้ใบย่านางสด มาล้างทำความสะอาดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือ ขยี้ใบย่านางกับน้ำหรือปั่นในเครื่องปั่น( แต่การปั่นในเครื่องปั่นไฟฟ้า จะทำให้ ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายความเย็นของย่านาง ) แล้วกรองผ่านกระชอนเอาแต่น้ำดื่มครั้งละ 1/2 – 1 แก้ว วันละ 2-3 เวลา ก่อนอาหาร หรือตอนท้องว่างหรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำ เพราะถ้าเกิน 4 ชม. มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม แต่ถ้าแช่ในตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วันโดยให้สังเกตุที่กลิ่นเปรี้ยวเป็นหลัก

นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถใช้น้ำย่านางมาสระผม ช่วยให้ศีรษะเย็น ผมดกดำ หรือชลอผมหงอก หรือผสมดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมาก ให้เหลวพอประมาณทาสิว ฟ้า ตุ่ม ผื่นคัน พอกฝีหนอง

วิธีการทำน้ำใบย่านางสูตรทั่วไป

ส่วนผสม

1. ใช้ใบย่านาง 30-50

2. น้ำดื่ม 4.5 ลิตร

3. ใบเตย 10 ใบ

วิธีการทำ

1. ตัดหรือฉีกใบย่านางและใบเตยให้เล็กลง แล้วนำไปโขลกให้ละเอียด หรือขยี้ หรือนำไปปั่น

2. กรองด้วยผ้าขาวบาง หรือตะแกรงตาถี่เอาแต่น้ำสีเขียว แล้วนำไปดื่มแทนน้ำได้ทั้งวัน ที่เหลือให้เก็บไว้ในตู้เย็นไว้ดื่มได้ 4 – 5 วัน ถ้ารสชาติเริ่มเปรี้ยวควรทิ้งทันที

 

วิธีการทำน้ำใบย่างนางสูตรที่ 2

ส่วนผสม

1. ใบย่านาง 5-20 ใบ

2. ใบเตย 1-3 ใบ

3. บัวบก ครึ่ง-1 กำมือ

4. หญ้าปักกิ่ง 3-5 ต้น

5. ใบอ่อมแซบ (เบญจรงค์) ครึ่ง-1 กำมือ

6. ใบเสลดพังพอน ครึ่ง–1 กำมือ

7. ว่านกาบหอย 3-5 ใบ

วิธีการทำ

1. ตัดหรือฉีกใบย่านาง ใบเตย ใบบัวบก หญ้าปักกิ่ง ใบเบญจรงค์ และใบเสลดพังพอนให้เล็กลง แล้วนำไปโขลกให้ละเอียด หรือขยี้ หรือนำไปปั่น

2. กรองด้วยผ้าขาวบาง หรือตะแกรงตาถี่เอาแต่น้ำสีเขียว แล้วนำไปดื่มแทนน้ำได้ทั้งวัน ที่เหลือให้เก็บไว้ในตู้เย็นไว้ดื่มได้ 4 – 5 วัน ถ้ารสชาติเริ่มเปรี้ยวควรทิ้งทันที

 

เทคนิควิธีการปั่นน้ำย่านาง

การทำน้ำใบย่านาง โดยใช้เครื่องปั่นให้คงคุณค่าสารอาหาร เทคนิค อยู่ที่ วิธีการปั่นคือ ไม่ควรกดปั่นครั้งเดียวจนใบย่านางละเอียด เทคนิคที่แจ๋วกว่า คือให้กดปั่น แล้วนับ 1-2-3-4-5 อย่างเร็ว แล้วกดปิด รอให้น้ำใบย่านางหยุดหมุน แล้วกดปั่นอีกครั้งนับ 1-2-3-4-5 อย่างเร็ว แล้วกดปิด รอให้น้ำใบย่านางหยุดหมุนทำซ้ำไปเรื่อยๆจนใบย่านางละเอียด วิธีนี้ทำให้โมเลกุลของสารอาหารไม่เปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิม เสร็จแล้วกรองด้วยผ้าขาวบางครับ

วิธีกินน้ำย่านาง ดื่มน้ำย่านางสด ๆ ครั้งละประมาณครึ่งแก้ววันละ 1-3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่างหรือจะดื่มแทนน้ำก็ได้ บางครั้งสามารถผสมน้ำมะพร้าว น้ำตาล น้ำมะนาว ในรสชาติไม่จัดเกินไปเพื่อให้ดื่มง่ายขึ้นก็ได้

สิ่งสำคัญคือความพอดี หมอเขียวบอกว่า บางคนดื่มน้ำย่านางแล้วรู้สึกแพ้ ผะอืดผะอม เพราะฉะนั้น จึงควรกลับไปดูว่าปริมาณการดื่มและความเข้มข้นของสมุนไพรควรเหมาะสมกับตัวเรามากที่สุดและดื่มแบบพอดีกับที่ร่างกายเราต้องการ เพราะถ้าเรารู้สึกผะอืดผะอมขึ้นมาเมื่อไหร่ แสดงว่าร่างกายบอกว่าพอแล้วนั่นเองค่ะ สำหรับบางคนที่รู้สึกว่า กินยาก เหม็นเขียว หรือรู้สึกไม่สบาย ให้กดน้ำร้อนใส่น้ำย่านาง หรือนำน้ำย่านางไปต้มให้เดือดก่อนดื่ม หรือผสมกับน้ำสมุนไพรอื่น

นอกจากนี้ยังมี วิธีทำน้ำใบย่านางอีกสารพัดสูตรตามเข้าไปดูเลยค่ะ “สูตรน้ำใบย่านาง”

แกงหน่อไม้ใบย่านาง

หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมต้มหน่อไม้ต้องใส่ใบย่านาง ? ก็เพราะมีความเชื่อกันมาว่า หน่อไม้มีฤทธิ์ร้อน กินมาก ๆ จะทำให้ท้องอืด จึงต้องแก้ด้วยน้ำใบย่านางซึ่งมีฤทธิ์เย็น นี่เองที่ทำให้หน่อไม้กับใบย่านางกลายเป็นของคู่กันไปซะแล้ว

ถ้ารู้แล้วว่า หน่อไม้กับใบย่านางเป็นของคู่กัน แบบนี้ก็ต้องลองมาทำเมนูที่มีทั้งหน่อไม้และใบย่านางกันดูสักหน่อย กับเมนูที่มีชื่อว่า แกงหน่อไม้ใบย่านาง เมนูโปรดของคออาหารอีสานรสแซ่บ ที่จะพาทุกคนไปอร่อยไปกับหน่อไม้กรอบ ๆ เข้ากันดีกับน้ำใบย่านาง แถมยังมีผัก และเห็ดนานาชนิดเต็มถ้วยไปหมด กลิ่นหอมฟุ้งเลยทีเดียว ยิ่งถ้าใครชอบกินปลาร้าด้วยแล้ว รับรองเลยว่าเด็ดโดนใจ แถมในน้ำใบย่านางยังมีประโยชน์ต่อร่างกายเราอีกด้วย

ใส่ความเห็น