ยุงเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กโดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาว 4-6 มม . บางชนิดมีขนาดเล็กมาก 2-3 มม . และบางชนิดอาจยาวมากกว่า 10 มม.
สิ่งที่จะบอกต่อไปนี้ สำหรับ การกำจัดยุง คือ น้ำสบู่ กับ ผงซักฟอก ลงในน้ำ
น้ำสบู่ สามารถลดปริมาณยุงได้ แค่ใส่ผงซักฟอกหรือสบู่ลงในน้ำแล้วคนให้เข้ากัน เทน้ำที่ผสมใส่ภาชนะต่างๆแล้วเอาไปวางไว้ตามมุมต่างๆของบ้าน เพียงแค่ 3 วันคุณจะรู้สึกได้ว่าจำนวนยุงลดลง ผ่านไป 10 วัน น้ำในภาชนะเหล่านี้จะเป็นสุสานของยุงมากมาย
สาเหตุ ที่ ”น้ำสบู่” สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะว่า ผงซักฟอกหรือสบู่มีกลิ่นหอมจะดึงดูดให้ยุงวางไข่ เนื่องจากผงซักฟอกหรือสบู่จะมีลักษณะเป็นด่าง ไข่ของยุงเมื่อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เป็นด่างก็จะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ เพราะงั้นจำนวนยุงก็จะค่อยๆลงน้อยลงอย่างแน่นอน วิธีนี้แสนง่ายแถมยังมีประสิทธิภาพสูง แต่ต้องระวังอย่าให้เด็กเล็กๆ หรือสัตว์เลี้ยงไปกินเข้า
วิธี นี้เอามาใช้รับมือกับแมลงสาบก็ได้ เพียงแค่ใช้น้ำสบู่วาดเป็นเส้นบริเวณที่แมลงสาบชอบเดินผ่าน เพียงแค่บริเวณท้องของมันโดยน้ำสบู่เข้าไป ไม่เกิน 10 วินาที มันก็ต้องจบชีวิตลง
เพิ่มเติมจ้าาา…..3 เคล็ดลับ ในการหนีห่างจากยุง
1 พยายามใส่เสื้อผ้าสีอ่อนๆ ยุงชอบไปเกาะตามเสื้อผ้าสีเข้ม
2 เปลี่ยนน้ำในภาชนะของพืชน้ำต่างๆที่คุณเลี้ยงไว้ในบ้านเป็นประจำ
3 กินกระเทียมก็ทำให้ยุงไม่อยากเข้าใกล้ เพราะยุงไม่ชอบกลิ่นกระเทียมที่ออกมาจากผิวหนังมนุษย์
และนี่ ก็เป็นวิธีที่เจ๋งมาก วัสดุที่ใช้ทำ บ้านไหนๆก็มี แถมยังราคาถูกมาก อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนๆ อ่านนะจ๊ะ !
——————————-
ความรู้เกี่ยวกับ ยุง
ยุงมีวงจรชีวิตแบบสมบูรณ์ (holometabolous) ซึ่งประกอบด้วย ไข่ (egg) ลูกน้ำ (larva; พหูพจน์ =larvae) ตัวโม่ง (pupa; พหูพจน์ =pupae) และยุงตัวแก่ (adult)
ยุงเมื่อลอกคราบออกจากระยะตัวโม่งได้ไม่กี่นาทีก็สามารถออกบินได้เลย อาหารที่ใช้ในระยะนี้ของทั้งตัวผู้และตัวเมียเป็นน้ำหวานจากดอกไม้หรือต้นไม้ การผสมพันธุ์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในอากาศ บางชนิดการผสมพันธุ์เกิดขึ้นในขณะที่ยุงตัวผู้มีการบินวนเป็นกลุ่ม (swarming) โดยเฉพาะเวลาหัวค่ำและใกล้รุ่ง ตามพุ่มไม้ บนศีรษะ ทุ่งโล่ง หรือบริเวณใกล้กับเหยื่อ เป็นต้น และตัวเมียจะบินเข้าไปเพื่อผสมพันธุ์ ยุงตัวเมียส่วนใหญ่ผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวโดยที่เชื้ออสุจิจากตัวผู้จะถูกกักเก็บในถุงเก็บน้ำเชื้อ ซึ่งสามารถใช้ไปได้ตลอดชีวิตของมัน ส่วนยุงตัวผู้สามารถผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง ยุงตัวเมียที่จับได้ตามธรรมชาติมักมีเชื้ออสุจิอยู่ในถุงเก็บน้ำเชื้อเสมอ
ยุงตัวเมียเมื่อมีอายุได้ 2-3 วันจึงเริ่มออกหากินเลือดคนหรือสัตว์ เพื่อนำเอาโปรตีนและแร่ธาตุไปใช้สำหรับการเจริญเติบโตของไข่ในรังไข่ แต่มียุงบางชนิดที่ไม่จำเป็นต้องกินเลือดก็สามารถสร้างไข่ในรังไข่ได้ เช่น ยุงยักษ์ เลือดที่กินเข้าไปถูกย่อยหมดไปในเวลา 2-4 วัน แต่ถ้าอากาศเย็นลงการย่อยจะใช้เวลานานออกไป
เมื่อไข่สุกเต็มที่ยุงตัวเมียจะหาแหล่งน้ำที่เหมาะสมในการวางไข่ หลังจากวางไข่แล้วยุงตัวเมียก็ออกดูดเลือดใหม่และวางไข่ได้อีก บางชนิดที่มีอายุยืนมากอาจไข่ได้ร่วม 10 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 4-5 วัน แต่อาจเร็วกว่าหรือนานกว่า ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและชนิดของยุง ส่วนยุงตัวผู้ตลอดอายุขัยจะกินอาหารจากแหล่งน้ำหวานของดอกไม้หรือพืชที่ผลิตน้ำตาลในธรรมชาติ เช่นเดียวกันกับยุงบางชนิดที่ตัวเมียไม่กัดดูดเลือดคนหรือสัตว์เลย
ยุงตัวเมียวางไข่ประมาณ 30-300 ฟองต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับชนิดของยุงและปริมาณเลือดที่กินเข้าไป ไข่จะมีสีขาวหรือครีมเมื่อออกมาใหม่ ๆ และในเวลาไม่กี่นาทีจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลดำไปจนถึงสีดำ
ไข่ยุงมีรูปร่างลักษณะหลายแบบขึ้นอยู่กับชนิด ยุงลายวางไข่บนวัตถุชื้น ๆ เหนือผิวน้ำ ยุงรำคาญวางไข่ติดกันเป็นแพบนผิวน้ำ ยุงก้นปล่องวางไข่บนผิวน้ำ ส่วนยุงเสือวางไข่ติดกันเป็นกลุ่มใต้ผิวน้ำติดกับพืชน้ำที่ลอยอยู่ ไข่ยุงส่วนใหญ่ทนต่อความแห้งแล้งไม่ได้ยกเว้นไข่ของยุงลายซึ่งสามารถทนทานต่อความแห้งแล้งได้นานหลายเดือน ในเขตร้อนชื้นไข่จะฟักออกเป็นตัวภายใน 2-3 วัน