นายจ้าง ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล ให้ลูกจ้าง สูงสุด 1 ล้านบาท
ไม่พลาดข่าวสาร กดแอดไลน์ ติดตามเรา
คณะรัฐมนตรีร่วมประชุม อนุมัติร่างกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย
1. ค่ารักษาพยาบาลลูกจ้าง ที่นายจ้างต้องเป็นผู้จ่าย
2. ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานที่ให้นายจ้างจ่าย
3. เงินที่ได้หลังจากไป
โดยสาระสำคัญที่จะพูดถึงกันคือ ค่ารักษาพยาบาลลูกจ้างที่นายจ้างต้องเป็นผู้จ่าย ได้ออกมาทั้งหมด 6 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. กำหนดให้เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย นายจ้างต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริง แต่ไม่เกินวงเงิน 50,000 บาท
2. ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 1. ไม่เพียงพอ นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มตามความจำเป็นอีก ไม่เกิน 100,000 บาท โดยขึ้นอยู่กับ การประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยของลูกจ้าง ในลักษณะตามที่กำหนดของกฎกระทรวง
3. ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 2. ไม่เพียงพอ นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มตามความจำเป็นอีก ไม่เกิน 300,000 บาท โดยขึ้นอยู่กับ การประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยของลูกจ้าง ในลักษณะตามที่กำหนดของกฎกระทรวง
4. ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 2. ไม่เพียงพอ นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มตามความจำเป็นอีก ตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์ โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาลตามข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
5. ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 4. ไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นเพิ่มขึ้น โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาลตามข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 แล้ว ต้องไม่เกิน 1,000,000 บาท ตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
6. หากลูกจ้างป่วยต้องพักรักษาตัวที่ รพ. โดยมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการพยาบาล นายจ้างต้องจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละ 1,300 บาท
ขอบคุณทีมข่าว siamnews
ไม่พลาดข่าวสาร กดแอดไลน์ ติดตามเรา