เตือน ! โรคปากและเท้าเปื่อย ระบาดลำพูน ประกาศเขตโรคระบาดเเล้ว

เตือน กินลาบดิบ หลู้ ส้าดิบ ๆ ระวัง โรคไข้หูดับ

กรมควบคุมโรค เตือนประชาชนระวังกินหมูสุกๆดิบๆ เสี่ยง “โรคไข้หูดับ” อาจทำให้หูหนวกถาวรหรือเสียชีวิตได้

ด้วยระยะนี้ สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ฤดูหนาว ทำให้สัตว์เลี้ยงมีสภาพร่างกายที่อ่อนแอ ความต้านทานต่อโรคต่ำ โดยเฉพาะสัตว์ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค จะมีความไวต่อการติดเชื้อโรคระบาด ที่สำคัญ และขณะนี้ได้เกิดการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยในพื้นที่จังหวัดลำพูน จำนวน 1 จุด ได้แก่ ในโคเนื้อที่บ้านหนองเหียง หมู่ที่ 15 ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561

ล่าสุดสำนักงานปศุสัตว์ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน พบว่าได้มีการระบาดของโรคปากเท้าเปื่อย เป็นโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งอาจติดต่อไปยัง โค กระบือ สุกร แพะ แกะ และสัตว์กีบคู่ได้ ทางปศุสัตว์อำเภอบ้านธิจึงได้ประกาศกำหนดเขตโรคระบาดชั่วคราวขึ้นในพื้นที่ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ปศุสัตว์ประกาศเขตโรคระบาดชั่วคราวในสัตว์ในพื้นที่

-อ.แม่ออนเชียงใหม่
-ตำบลมะเขือแจ้ อ.เมือง ลำพูน
-ตำบลทาปลาดุก อ.แม่ทา ลำพูน
-ตำบลอุโมงค์ อ.เมืองลำพูน
-ตำบลห้วยยาบ อ.บ้านธิ ลำพูน
-ตำบลบ้านธิ อ.บ้านธิ ลำพูน

โดยประกาศเป็นเขตโรคระบาดชั่วคราวชนิดโรคปากและเท้าเปื่อย ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 ถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2561 เป็นต้นไป

โรคปากและเท้าเปื่อยเป็นโรคติดต่อที่สำคัญ ใน โค กระบือ แพะ แกะและสุกร ซึ่งมีสาเหตุจาก เชื้อไวรัส ที่สามารถติดต่อและแพร่กระจายได้โดยการกินหรือสัมผัสกับสัตว์ป่วยโดยตรง หรือเชื้อที่ปนเปื้อนจากถังนม คน ยานพาหนะ รวมทั้งเชื้อไวรัสยังสามารถล่องลอยไปกับอากาศได้ โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกมาจากสัตว์ป่วยทางน้ำมูก น้ำลาย น้ำนม มูลสัตว์ ลมหายใจและบาดแผล สัตว์ที่ป่วยจะแสดงอาการซึม มีไข้ เบื่ออาหาร มีเม็ดตุ่มพองเกิดขึ้นที่ริมฝีปาก ช่องปากและไรกีบทำให้น้ำลายไหล กินอาหารไม่ได้ และเดินกะเผลก ในโคนมอาจมีเม็ดตุ่มที่เต้านม ทำให้เต้านมอักเสบได้ เนื่องจากโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสจึงไม่มียาในการรักษาโดยตรง แต่อาจจะใช้ยาปฏิชีวนะ ยาทากีบ ยาม่วง หรือยาลดการอักเสบ เพื่อลดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนและบรรเทาอาการ เท่านั้น

ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสียหายกับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและผู้เลี้ยงสัตว์กีบคู่ชนิดอื่นๆ ได้ จึงขอความร่วมมือศูนย์รับนม สหกรณ์โคนม และเกษตรกรในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค ดังนี้

1. เป็นเครือข่ายการเฝ้าระวัง ค้นหาโรคปากและเท้าเปื่อยในโคนม โดยทำการตรวจสอบฟาร์ม โคนมของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกการชื้อขายน้ำนมดิบของท่าน จากข้อมูลที่สงสัยว่าจะมีการเกิดโรคปากและเท้าเปื่อย เช่น ปริมาณน้ำนมผลผลิตเฉลี่ยของฟาร์มที่ลดลงอย่างผิดปกติ หรือหากเจ้าหน้าที่ของท่านตรวจพบฟาร์มที่เป็นโรคปากและเท้าเปื่อย ขอให้ท่านแจ้งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทราบทันที่ ได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ประจำพื้นที่ หรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด “แจ้งการเกิดโรคระบาด” เพื่อเข้าดำเนินการตรวจสอบและ การควบคุมโรคโดยเร็ว

2. เข้มงวดมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ เช่น พ่นยาฆ่าเชื้อรถทุกคันที่เข้า-ออกศูนย์รับนมหรือสหกรณ์โคนม ตลอดจนป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคปากและเท้าเปื่อยจากผู้ปฏิบัติงาน

3. ประชาสัมพันธ์ให้เน้นย้ำเกษตรกรที่ยังไม่มีโคนมป่วยด้วยโรคปากและเท้าเปื่อย ป้องกันการ นำโรคเข้าฟาร์ม ดังนี้

งดการซื้อขายและนำเข้าสัตว์มาเลี้ยงใหม่ จากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย อย่างน้อย 1 เดือน หรือจนกว่าสถานการณ์การระบาดของโรคสงบ ซึ่งสามารถสอบถามหรือตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด หรือสำนักงานปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่ เเละเข้มงวดการจัดการเพื่อป้องกันโรคเข้าฟาร์ม เช่น

๑.) ห้ามบุคคลภายนอกเข้าฟาร์มโคนม หากจำเป็นต้องเปลี่ยนรองเท้าที่ใช้เฉพาะ ภายในฟาร์มและเดินผ่านอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้งก่อนเข้าบริเวณรีดนม และที่เลี้ยงโคนม

๒.) ห้ามยานพาหนะทุกชนิด เช่น รถรับซื้อสัตว์ รถขนอาหารสัตว์ รถรับซื้อมูลสัตว์ เข้าภายในฟาร์มโดยเด็ดขาด หากจำเป็นต้องพ่นยาฆ่าเชื้อโรค และจัดให้ยานพาหนะฯ ดังกล่าว อยู่ไกลจากสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้มากที่สุด

๓.) ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคที่ถังส่งนมและอุปกรณ์ต่างๆ ก่อนนำเข้าฟาร์ม

๔.) เลือกซื้อพืชอาหารสัตว์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าไม่มีการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย

 

ใส่ความเห็น