ผลไม้ยืนต้นที่คนไทยนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลายมีรสอร่อยหวานหอมขึ้นจมูกทานได้ทั้งดิบและสุก มะละกอดิบเมนูยอดฮิตคงไม่พ้นส้มตำแกงส้มส่วนมะละกอสุกรับประทานสดเพื่อสุขภาพบริโภคผลดิบและสุกได้รสชาติอร่อยมะละกอจะเป็นพืชที่มีการปลูกกันทั่วไปแต่พื้นท่ีท่ีมีการปลูกเป็นการค้าอย่างมากได้แก่พื้นที่ภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งผลิตมะละกอที่มีคุณภาพเหมาะสําหรับการส่งออกและป้อนสู่ตลาดภาคอื่นๆ
คัดเลือกสายพันธุ์
พันธุ์มะละกอที่นิยมปลูกคือพันธุ์แขกดำศรีสะเกษแขกนวลและโกโก้เมื่อสุกเนื้อสีแดงพันธุ์สายน้ำผึ้งเมื่อสุกเนื้อสีเหลืองมะละกอพันธุ์แขกดำศรีสะเกษบริโภคผลดิบและสุกได้รสชาติอร่อยจึงนิยมปลูกในเชิงการค้าได้แก่พันธุ์แขกดำพันธุ์ลูกผสมพิจิตรพันธุ์ปักไม้ลายพันธุ์กลางดงพันธุ์ฮาวายพันธุ์ฮอลแลนด์เป็นต้น
การเตรียมดิน
ไถดินตากประมาณ7-10วันพรวนดินย่อยดินทำการชักร่องโดยจะปลูกแบบผืนใหญ่แบบยกร่องแล้วแต่พื้นที่ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น2เมตรระหว่างแถว2เมตรขุดหลุมกว้างxยาวxลึกประมาณ30x30x30เซนติเมตรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าให้เข้ากับดินนำต้นกล้ามะละกอที่เพาะไว้ในถุงดำก่อนปลูกแกะถุงดำออกนำกล้ามะละกอลงปลูกกลางหลุมกลบด้วยดินและปุ๋ยหมักแล้วรดน้ำให้ชุ่มหลังปลูกเสร็จให้ทำหลักเพื่อยึดลำต้นมะละกอไม่ให้โยกขณะลมพัด
การใส่ปุ๋ย/การให้นํ้า
การให้นํ้าตามระบบของการปลูกเช่นแบบสปริงเกอร์แบบนํ้าหยดแบบตักสาดหรือปล่อยไปตามร่องคารให้นํ้าตามสภาพอากาศและฤดูกาล
พิจารณาใส่ปุ๋ยเคมีตามสภาพของดินเมื่อมะละกออายุได้1เดือนใส่ปุ๋ยเคมีสูตร46-0-0อัตรา1ช้อนแกงต่อต้นโรยรอบๆโคนและใส่ปุ๋ยเคมีสูตร8-24-8อัตรา200-300กรัม/ต้นในระยะออกดอกและปุ๋ยเคมีสูตร13-13-21อัตรา300กรัมต่อต้นโรยรอบๆโคนต้นในระยะผลเริ่มแก่ก่อนสุกประมาณ2-3อาทิตย์
การเก็บเกี่ยว
เมื่อมะละกออายุได้4-5เดือนก็สามารถเก็บเขียวหรือดิบขายได้และเมื่ออายุ7-10เดือนก็สามารถเก็บผลสุกขายได้แล้วแต่พันธุ์ที่ปลูกในพันธุ์มะละกอต้นเตี้ยไม่มีปัญหาเรื่องเก็บส่วนพันธุ์ที่ต้นสูงต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเก็บเช่นตะกร้อสอยมะละกอโดยเฉพาะนำผลมะละกอมาคัดขนาดบรรจุถุงหรือเข่งในกรณีขายดิบแต่ถ้าเก็บผลมะละกอขายสุกเมื่อเก็บมาแล้วทำการคัดขนาดรอการจำหน่ายต่อไปราคาขึ้นอยู่กับฤดูกาลเเละตามสภาวะของผลผลิตที่ออกสู่ตลาด
โรคและแมลง
โรคคู่เวรคู่กรรมของมะละกอคือโรคไวรัสจุดวงแหวนเกิดจากเชื้อไวรัสPapayaringspotvirus(PRSV)โดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะสำคัญซึ่งโรคนี้มีปัญหาอย่างมากกับการปลูกมะละกอ และสามารถเข้าทำลายได้ทุกการเจริญเติบโตตั้งแต่ระยะต้นกล้าถึงระยะติดผลทำให้เกษตรกรต้องหันไปปลูกพืชชนิดอื่นทดเแทนตัดต้นมะละกอทิ้งก่อนเวลากรณีเลวร้ายสุดย้ายพื้นท่ีปลูกกันเลยทีเดียว
การลงทุนปลูกเพื่อการค้าสามารถทำได้แต่ต้องใช้ความอดทนเรียนรู้และพลิกแพลงอยู่ตลอดเกษตรกรผู้ปลูกมะละกอในประเทศไทยได้ผลเป็นที่น่าพอใจหลายท่านสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวเป็นอย่างดี
ข้อแนะนำ
1.การปลูกมะละกอต้องใช้น้ำและต้องจำกัดเนื้อที่ปลูกเพื่อไม่ให้ผลผลิตออกมาล้นตลาด
2.ด้านการตลาดควรติดต่อแหล่งรับซื้อที่เป็นขาประจำรับไป
3.พันธุ์มะละกอที่ควรปลูกควรเลือกพันธุ์แขกดำแขกนวลและแก้มแหม่ม
ที่มา : สถาบันวิจัยพืชสวน