อันตรายจริง ! แค่โชว์บัตรปชช. แม้ไม่เห็นเลขบัตร ก็ถูกมิจฉาชีพฉกเงินในบัญชีไปเป็นล้าน !!
เตือนภัยพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ และท่านที่ทำธุรกรรมทางการเงิน ผ่านทางระบอบออนไลน์ทุกท่าน เรื่องเงินเรื่องทองเป็นสิ่งสำคัญอยู่ดีไม่ว่าดีเงินของเราอาจจะถูกโอนไปบัญชีคนอื่นโดยที่กว่าจะรุ้ตัวก็สายเสียแล้ว ระวังตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพ อย่ามองข้าม!! เพียงแค่โชว์บัตรประชาชน แม้จะไม่เห็นเลขประจำตนประชาชน แก๊งพวกนี้ก็วิธีที่การที่เราคาดไม่ถึงเลยที่เดียว เรียกได้ว่าถ้าไม่มีนิสัยคดโกงก็คิดไม่ได้แน่นอน
จากกรณีนายพันธ์สุธี มีลือกิจ เจ้าของร้านประดับยนต์และเปิดขายทางออนไลน์ ได้ถูกแก๊งมิขฉาชีพไปส่งข้อความเข้าเฟสบุ๊คทำทีท่าสนใจต้องการซื้ออะไหล่ โดยตกลงราคาซื้อที่ 48,000 บาท จากนั้นได้ขอเลขบัญชีโอนเงินและขอชื่อสกุลยืนยันจากบัตรประชาชน เจ้าของร้านให้บัตรประขาชนเพื่อยืนยันตัวตนและปิดเลข13 หลักบัตรไว้
จากถูกมิจฉาชีพใช้วิธีการติดต่อขอเปลี่ยนซิมโทรศัพท์มือถือที่ร้านทรูช้อป จากนั้นโทรศัพท์เปลี่ยนรหัสแอปพลิเคชัน K-Mobile Banking ก่อนโอนเงินทั้งหมดในบัญชีธนาคารจำนวน 986,700 บาท มาดูกันว่าเรื่องเป็นอย่างไร
หลังจากนั้นคนร้ายได้นำชื่อสกุล ไปทำบัตรประชาชนปลอมโดยไม่ทราบว่าไปหาเลขบัตรประขาชนมาจากไหนและเปลี่ยนรูปถ่ายใบหน้าให้เป็นหน้าคนร้าย นำไปยื่นที่ทรู โดยอ้างว่าโทรศัพท์มือถือหาย พร้อมบัตรประชาชนตัวปลอม ขอซิมเบอร์เดิม แล้วนำซิมไปใส่มือถือไปทำการโอนเงินออกจากธนาคาร โดยทางธนาคารได้สอบถามเลขบัญชี วันเดือนปีเกิด ซึ่งคนร้ายสามารถตอบได้หมด และใช้เบอร์มือถือ โทรหาธนาคารอ้างลืมรหัส เพื่อขอปลดล๊อครหัสกับทางธนาคารและปรากฏว่าทางกสิกรไทยปลดล๊อครหัสให้ ส่งผลคือเงินถูกโอนไปใส่อีกบัญชี
ผู้เสียหายเล่าว่า อยู่ๆ มือถือที่ใช้เบอร์โดนแฮกซิมไป ใช้การไม่ได้ แต่ด้วยยุ่งๆอยู่เลยคิดแค่ว่ายังมีอีกเครื่อง จนอีกวันถึงได้รู้เงินในบัญชีโดนแฮกไปหมด จากนั้นผู้เสียหายได้ไป ขอรูปวงจรปิด ทางธนาคารบอกว่ากล้องเสีย สร้างความลำบากเพิ่มขึ้น ทนายผู้เสียหายต้องวิ่งขอเปิดกล้องเป็นจุดๆไปและยื่นเรื่องให้ทาง ธนาคารชดใช้เงินคืน เพราะเจ้าของเงินไม่ได้ยื่นเรื่องโอนเงิน เป็นทาง ธ.กับคนร้ายซึ่งคนร้ายไปหลอกธนาคารและคนร้าย ไปหลอกทรู แฮกเบอร์มือถือ
ทั้งนี้ทางธนาคารยอมรับผิดแต่รับชดใช้ 33% และให้ไปเอากับทรู 33% ทีเหลือให้ไปเอากับคนร้าย 33%
แต่ทางทนายยื่นฟ้อง ธนาคารด้วยเหตุ เจ้าของบัญชีไม่ได้ไปขอปลดล็อครหัสเหตุใด ธนาคารปลดล็อคให้ทันที แล้วคนร้ายโอนเงินออกไปอีกบัญชีเป็นการร่วมมือกันระหว่างคนร้ายกับธนาคาร โดยไม่เกี่ยวข้องกับทาเจ้าของเงิน และไม่ได้ไปหลอกอะไรธนาคาร…
สุดท้าย..จึงเป็นเรื่องของธนาคารต้องไปตามจับคนร้ายเอง…ซึ่งทรูต้องรับผิดชอบร่วมกับธนาคารเพราะบัตรประขาชนปลอมแปลงทางทรูไม่ตรวจสอบให้รอบคอบ