ลอยกระทง 2566 คำขอขมาพระแม่คงคา “คืนจันทร์ซ้อนจันทร์” ในวันลอยกระทง ปี 2566

คำขอขมาพระแม่คงคา “คืนจันทร์ซ้อนจันทร์”

วันลอยกระทง 2566 ตรงกับจันทร์ที่ 27 พ.ย. เป็นมหาฤกษ์เรียกว่า “จันทร์ซ้อนจันทร์” โดยเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันจันทร์ อาศัยพลังจาก “จันทรคติ” กับ “สุริยคติ” โดย จันทรคติ คือ 15 ค่ำ ขณะที่ สุริยคติ คือ วันจันทร์ ทั้งสองสิ่งมาบรรจบกันในวันเดียวกัน

 

 

 

วันลอยกระทง และความสำคัญ

ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีที่อยู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน ทุกปีจะมีการทำกระทงจากใบตอง และใช้ดอกไม้มาประดับด้วยความประณีตงดงาม ก่อนจะนำไปลอยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อขอขมาและบูชาพระแม่คงคา เป็นการแสดงความขอบคุณที่ทำให้มนุษย์ได้มีน้ำให้ใช้ในการดำรงชีวิต และเพื่อตระหนักอยู่เสมอว่าต้องใช้แหล่งน้ำด้วยการรักษาความสะอาด ใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและเป็นประโยชน์มากที่สุด

สำหรับ ในปีนี้ วันลอยกระทง ตรงกับ วันจันทร์ ที่ 27 พฤศจิกายน 2566

ประเพณีลอยกระทง (Loy Krathong Festival) มิได้มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศจีน อินเดีย เขมร ลาว และพม่า ก็มีการลอยกระทงคล้ายๆ กับบ้านเรา จะต่างกันบ้าง ก็คงเป็นเรื่องรายละเอียด พิธีกรรม และความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น แม้แต่ในบ้านเราเอง การลอยกระทง ก็มาจากความเชื่อที่หลากหลายเช่นกัน

ความเชื่อเกี่ยวกับการลอยกระทงคือการขอขมาพระแม่คงคาที่เราได้นำน้ำมาดื่มกิน มาใช้ในชีวิตประจำวันหรือเคยทิ้งสิ่งของปฏิกูลลงไป อีกนัยหนึ่งเป็นเหมือนการลอยทุกข์โศกสิ่งไม่ดีฝากไปกับแม่น้ำคงคาและอธิษฐานขอให้มีแต่สิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต วันนี้เราก็ได้นำบทคำขอขมาพระแม่คงคามาฝากทุกคนกัน

วันลอยกระทง และ จันทร์ซ้อนจันทร์ ที่ตรงกันปีนี้ อัมรินทร์ สุขสมัย ผู้ศึกษาด้านโหราศาสตร์และไสยเวท กล่าวกับเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์ ว่า ลอยกระทงปี 2566 มีความพิเศษกว่าทุกปี เพราะตรงกับวันจันทร์ เชื่อว่าถ้ามีการทำพิธีอาบแสงจันทร์ เพื่อส่งเสริมเสน่ห์ ช่วยให้เกิดโชคลาภ โดยต้องทำพิธีช่วงเที่ยงคืน ที่พระจันทร์เต็มดวงลอยตั้งฉากเหนือศีรษะ ส่วนช่วงหัวค่ำวันเดียวกัน สามารถทำพิธีลอยกระทง ขอขมาพระแม่คงคา

 

 

 

 

คำขอขมาพระแม่คงคา ในวันลอยกระทง 2566

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

“ข้าแต่คงคา ลูกขอวันทา ด้วยประทีปกระทง พระแม่คงคา มีความเมตตา ต่อลูกสูงส่ง คือน้ำในกาย สามส่วนมั่นคง กายจึงยืนยง ชุ่มชื่นยืนนาน พระแม่คงคา กำเนิดจากฟ้า โปรยปรายลงมา เป็นกระแสธาร เกิดเป็นแม่น้ำ หลายนามขนาน ปิง, วัง, ยม, น่าน คือเจ้าพระยา ท่าจีน, ตาปี นครชัยศรี โขง, ชี, มูล, ละหาร ห้วยหนองคลองบึง จนถึงแก่งกว๊าน น้ำใต้บาดาล

อีกทั้งประปา ลูกลูกทั้งหลาย เดินทางขายค้า สำเร็จกิจจา คมนาคม นำมากินใช้ ได้ดั่งอารมณ์ ยามร้อนประพรม ชุ่มชื่นกายใจ ชำระมลทิน โสโครกทั้งสิ้น สะอาดสดใส ผุดผ่องพราวตา แลเลิศวิไล แม่น้ำรับไว้ สกปรกโสมม น้ำเสียเรือนชาน ซักผ้าล้างจาน เททิ้งทับถม ไหลลงคงคา ธาราระทม สารพิษสะสม เน่าคลุ้งฟุ้งไป

วันนี้วันเพ็ญ พระจันทร์ลอยเด่น เป็นศุภสมัย ลูกจัดกระทง ประสงค์จงใจ นำมากราบไหว้ พระแม่คงคา เทวาทรงฤทธิ์ ซึ่งสิงสถิต ทุกสายธารา ทั้งผีพรายน้ำ อย่าซ้ำโกรธา ลูกขอขมา อโหสิกรรม ทำกิจใดใด อุทกภัย อย่าได้เติมซ้ำ อย่าพบวิบัติ ข้องขัดระกำ อย่าให้ชอกช้ำ น้ำท่วมพสุธา อย่าให้สินทรัพย์ ต้องพลันย่อยยับ เพราะสายธารา อย่าให้ชีวิต ต้องปลิดชีวา พระแม่คงคา รับขมาลูก เทอญ”

 

ใส่ความเห็น