“โปะค่างวดรถยนต์” เหตุผลว่า ทำไมถึงไม่ควรทำ

สวัสดีคับ วันนี้ กูรูสยาม มีความรู้มาฝากครับ สำหรับ ใครที่ ยังผ่อนรถยนต์อยู่ มีคนบอกว่า หากมีเงินเยอะ ห้ามนำมา โปะค่างวดรถ โดยเด็ดขาด เพราะอะไร ทำไมถึงบอกมาอย่างนั้น เรามาดูเหตุผหลกันดีกว่าครับ

ก่อนอื่นนั้น เรามาทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ สินเชื่อรถยนต์ กันก่อนนะครับ  คำว่า สินเชื่อรถยนต์ เป็นสินเชื่อที่คิดดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Rate) ตลอดอายุสัญญา ต่างจากสินเชื่อบ้านที่ใช้ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) ค่างวดและดอกเบี้ยของสินเชื่อรถยนต์จึงตายตัวเท่ากันตลอดอายุสัญญา ต่างจากค่างวดบ้านที่สามารถโปะเพิ่มจากค่างวดปกติเพื่อตัดเงินต้นให้น้อยลง ทำให้หนี้หมดไวขึ้น

 

 

ตัวอย่าง คุณต้องส่งค่างวดทั้งหมด 60 งวด งวดละ 11,872 บาท คุณส่งค่างวดไปแล้ว 30 งวด งวดที่ 31 มีความคิดที่จะจ่ายเพิ่มอีกเดือนละ 2,000 บาท

-เหลือยอดต้องส่งอีก 356,160 บาท
-จากเดือนละ 11,872 กลายเป็น 13,872 บาท
-งวดต่อ ๆ ไป กลายเป็นว่าคุณชำระยอด 13,872 ไปถึงงวดที่ 55 คำนวณได้จากนำยอดทั้งหมด (346,800) มาหารกับค่างวดที่ส่งต่อเดือน (13,872) ได้เป็น 25 แล้วนำไปบวกกับจำนวนเดือนที่ส่งไปแล้วคือ 30 จึงนับว่าเป็นงวดที่ 55
-งวดที่ 56 คุณก็จะจ่ายเพียงแค่ 356,160-346,800 = 9,360
-หมายความว่าคุณต้องจ่ายค่างวดบวกกับจำนวนเงินที่เพิ่มไปแล้วไปถึงเพียงงวดที่ 55 เท่านั้น จากนั้น งวดที่ 56 ก็จ่ายยอดสุดท้ายไปด้วยยอดที่เหลือ เท่ากับว่าคุณจะลดภาระการส่ง 4 งวดสุดท้ายไปนั่นเอง ซึ่งจำนวนเงินและดอกเบี้ยก็ไม่ได้ถูกลดอะไรไป การจ่ายแบบโปะจึงเป็นแค่เพียงการช่วยลดภาระในตอนท้ายเท่านั้นเอง

 

 

ดังนั้น การโปะค่างวดรถยนต์จึงไม่ทำให้ดอกเบี้ยลดลงเหมือนกับค่างวดบ้านแต่อย่างใด เพราะสุดท้ายแล้วจำนวนเงินรวมที่ชำระในวันครบสัญญาก็ยังคงเท่ากันอยู่ดี

ทางที่ดีหากต้องการจบหนี้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด แนะนำให้ชำระค่างวดตามปกติโดยไม่จำเป็นต้องโปะเพิ่ม เมื่อถึงเวลาที่ลูกหนี้สามารถแจ้งปิดบัญชีค่างวดรถที่เหลือทั้งหมดได้ ให้แจ้งความประสงค์ขอปิดบัญชีกับธนาคารหรือไฟแนนซ์ จากนั้นบริษัทฯ จะคำนวณส่วนลดดอกเบี้ยจากค่างวดที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระให้ ซึ่งวิธีนี้อาจเซฟเงินได้สูงถึงหลักหมื่นบาทขึ้นอยู่กับยอดหนี้ที่เหลือ

สรุปแล้ว ในระหว่างที่ชำระสินเชื่อรถยนต์ หากลูกหนี้มีรายได้เพิ่มขึ้น หรือได้รับเงินก้อนใหญ่ ก็ควรเก็บสะสมเงินดังกล่าวเพื่อใช้ชำระหนี้ที่เหลือในคราวเดียว จะช่วยให้ยอดหนี้ลดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการโปะเพิ่มในแต่ละเดือน

ใส่ความเห็น