เชื่อว่า “ทุกค่าย” คงพยายามปฏิเสธเสียงแข็งว่าไม่ใช่นโยบายของบริษัท แต่กรณีนี้มันก็ไม่ต่างอะไรกับการ “แจกซิมฟรี” ที่นิยมกันเมื่อหลายปีก่อน (ไม่แน่ใจว่าตอนนี้มีอยู่มั้ย) ที่พยายามยัดเยียดซิมให้กับคนเดินผ่านไปมา ปากบอกว่าฟรีแต่สุดท้ายต่อให้คุณไม่ใช่บริการ “บิลก็มาถึงบ้าน”
การทำอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ที่หลายค่ายเรียกอย่างสวยหรูว่า “ข่าวประชาสัมพันธ์” สร้างความรบกวนผู้ใช้งานไม่ใช่น้อย ลองนึกภาพตามว่าหากคุณซื้อโทรทัศน์มาแล้ววันดีคืนดี คนขายจะสามารถส่งข้อความโฆษณาอะไรมาบนหน้าจอก็ได้ มันแฟร์กับผู้ใช้หรือไม่?
นับภาษาอะไรกับสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่เราจ่ายใช้อยู่ทุกเดือน การที่ผู้ให้บริการสามารถยิงโฆษณา (หรือขายข้อมูลลูกค้าต่อให้คู่ค้าส่งโฆษณาให้ลูกค้าแทน) มันเป็นเรื่องยุติธรรมแล้วหรือ? จ่ายค่าบริการให้ทุกเดือน ส่วนลดก็ไม่มีให้แล้วยังต้องอ่านโฆษณาที่เขายัดเยียดให้อีก
ถึงแม้ว่าจะเป็นหน้าที่แต่ก็คงต้องยกความดีให้กับเขา (มาช้ายังดีกว่าไม่มา) เมื่อปีที่ผ่านมา กสทช. ก็ได้ออกกฎควบคุมบางอย่าง
“กด *137 ทุกเครือข่าย (ฟรี) เพื่อยกเลิกข้อความโฆษณา”
ผ่านระบบ IVR โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (ที่ถูกต้องคือควรจะยกเลิกให้กับลูกค้าทุกคน แล้วถ้าใครอยากได้ข้อความพวกนี้ให้ไปลงทะเบียนเองที่ศูนย์บริการจะดีกว่า)
นอกจากนี้ก็ยังมีช่องทางอื่นเพิ่มเติมอีก (เผื่อวิธีแรกไม่ได้ผล) อย่างของ
Dtac สามารถโทรไปที่ Call Center 1678
True ก็สามารถอีเมล์ไปที่ intelligence@truecorp.co.th ได้เช่นกันครับ
หลังจากกดหรือทำเรื่องยกเลิกไปแล้ว พยายามติดตามผลด้วยนะครับ ว่าสิ่งที่เราทำไปนั้นถูกต้องและสามารถปิดการส่ง SMS มาได้แล้ว เพราะ บางครั้งผมเคยเจอว่าทำครั้งแรกแล้ว ก็ยังไม่ได้ผล ต้องทำซ้ำอีกรอบถึงจะหาย หรือไม่ก็บางนานทีผ่านไป SMS กวนใจเหล่านั้นมันก็จะกลับมาอีก
สรุป
ผมเชื่อว่าวิธีนี้หลายคนคงทราบดีแล้ว แต่ก็เชื่อว่ายังมีอีกเกินครึ่งประเทศที่ยังไม่ทราบ อย่าลืมตรวจสอบเครื่องของญาติพี่น้องของคุณด้วยนะครับ ว่ามี SMS เข้ามาเยอะผิดปกติหรือเปล่า? เรื่องกลัวจะพลาดสิทธิประโยชน์บ้าบออะไรไม่ต้องใส่ใจหรอกครับ เพราะสิ่งเหล่านี้มัน “ไม่มีอยู่จริง”
หวังว่าบทความนี้จะช่วยเหลือทุกๆ ท่าน ให้ห่างไกลจาก SMS กวนใจได้นะครับ