สิ่งที่ “ในหลวง ร.๙” ซ่อนไว้ธนบัตรแบงค์ ๑,๐๐๐ บาท เรื่องจริงที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน

 

นี่ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวดีๆที่ได้แชร์ต่อกันมาในโลกโซเชียล เกี่ยวกับแบงค์ ๑,๐๐๐ บาท ที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำ และเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด ซึ่งด้านหลังของธนบัตรใบละ ๑,๐๐๐ บาท จะปรากฏให้เห็นถึงภาพของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่หลายๆคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งภาพเหล่านั้นมันมีความหมายแฝงอยู่และซ่อนบางสิ่งบางอย่างเอาไว้ให้

โดยเรื่องราวนี้ถูกแชร์มาจากกระทู้หนึ่งที่อยู่ในเว็บไซค์พันทิปดอทคอม โดยสมาชิกที่ชื่อว่า “SsK-G-ปรเชษฐ์พัลโหม” ซึ่งเรื่องราวนี้ได้ถูกตั้งกระทู้อยู่บนเว็บไซค์ชื่อดังอย่าง พันทิปดอทคอม โดยคุณสมาชิกที่มีชื่อว่า SsK-G-ปรเชษฐ์พัลโหม ซึ่งได้เสนอเรื่องราวของความหมายในแบงค์ ๑ พันบาท ที่เจ้าตัวก็เพิ่งจะเคยได้ยินได้ทราบมาจาก อาจารย์ของตัวเองเหมือนกัน ว่าแท้จริงแล้ว มีความหมายที่ลึกซึ้งและแฝงไปด้วยแง่คิดให้เหล่าพสกนิกรของประองค์ ได้เรียนรู้อีกมากมาย

โดยเขาได้กล่าวไว้ว่า.. “วันนี้ผมได้ไปเรียนตามปกติ แล้วสิ่งที่ผมไม่คาดคิดก็ได้เกิดขึ้น อาจารย์ได้ถามถึงแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องนี้ผมทราบดีอยู่แล้วครับ ว่า ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข ตอบไปก็ถูกครับ จากนั้นคำถามก็เป็นคำถามต่อที่ว่า ในชีวิตประจำวันเราได้สัมผัสกับเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไรบ้าง ??งงล่ะสิครับ อาจด้วยผมยังไม่เข้าถึงแก่นแท้ของแนวคิดนี้ อีกอย่าง เน้นว่า ที่เราสามารถปฎิบัติจริงๆ ในชีวิตประจำวัน

จริงๆคำถามไม่ยากครับ ก็แค่บอกว่า ประหยัด อดออม มัธยัสถ์ แต่ติดตรงที่ว่า ในสถานการณ์ชีวิตจริง บางครั้งเราก็ไม่สามารถที่จะปฏิบัติได้ ทุกคนในห้องเงียบ………อาจารย์ใบ้มาอีกว่า เราทุกคนเคยสัมผัส และแนวคิดนี้อยู่ใกล้กับตัวเรามาก ………..ทุกคนในห้องยังเงียบ รู้มั๊ยครับว่า เศรษฐกิจพอเพียงอยู่ใกล้ชิดกับเราอย่างไร ผมขอเฉลยเลยครับว่า มันอยู่ใน ธนบัตร ๑๐๐๐ บาทที่เราใช้กันทุกวันนี้แหละแต่ความหมายที่อาจารย์อธิบาย มันทำให้ผมอึ้ง!!ยิ่งกว่านั้นครับ ……อึ้งจนทำให้ผมเวลาที่จะใช้จ่ายเงินต้องคิดตลอดเวลา อาจารย์อธิบายว่า

ในธนบัตร ๑,๐๐๐ บาท มีพระราชดำหริของในหลวงอยู่ พระองค์ทรงสอนเราทุกคนเสมอ แต่เราทุกคนยังไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง

 

 

ในธนบัตร จะมีทั้งพระราชดำรัส และภาพที่แสดงถึงเศรษฐกิจพอเพียงที่พระองค์ทรงอยากให้พวกเราปฏิบัติเช่นนั้น เพื่อความสงบสุขของประชาชน นอกจากนี้ในภาพพระองค์ฉลองพระองค์เป็นภาพทรงงาน มีแผนที่ กล้องถ่ายภาพ หากใครจำได้ ภาพนี้คือภาพที่พระองค์ทรงงานในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ราษฎร ที่ทุรกันดารเพียงใด ท่านไม่เคยย่อท้อ และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ นั่นก็คือ น้ำให้ชีวิต นอกจากนี้อาจารย์ยังบอกว่า ทำไมต้องเอามาอยู่ในแบงค์ ๑,๐๐๐ ทำไมไม่เอาไปใส่ไว้ในแบงค์อื่น ก็เพราะแบงค์พันเป็นหน่วยธนบัตรที่ใหญ่ที่สุด การจะใช้จ่ายเงินทองออกไปสมควรที่จะคิดให้ดีๆก่อนที่จะใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย นอกเหนือเกินความจำเป็น

 

และประโยคเด็ดที่ทำให้ผมรู้สึกว่าต้องประหยัดให้มากกว่านี้ ก็คือ “คนส่วนมากรู้แค่มูลค่าของมัน แต่จะมีสักกี่คน ที่รู้ คุณค่า ของ ธนบัตรนี้”

ใส่ความเห็น