ประกอบอาชีพอิสระ ประกันสังคม-เจ็บป่วย ได้วันละ 300

ใครประกอบอาชีพอิสระ ไม่ทำกันหรือยัง ประกันสังคม-เจ็บป่วย ได้วันละ 300 ให้ไปดำเนินการตามนี้…..

 

 

เป็นข่าวดีและเป็นนโยบายที่ดี สำหรับประชาชนคนธรรมดาหรือาชีพอิสระมีเฮกันเลยค่ะ เพราะรัฐบาลเตรียมนโยบายเข้าประกันสังคม และเมื่อเจ็บป่วยท่านจะได้รับ 300 บาทต่อวัน และเพียงแค่ท่านมีบัตรประชาชนแล้วยื่นตามนี้ ก็สามารถทำได้แล้วค่ะ

25 เม.ย.60 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างกฎหมาย 3 ฉบับ เพื่อปรับปรุงสิทธิประโยชน์การประกันตนตามมาตรา 40 ประกอบด้วย ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดคุณสมบัติการสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประโยชน์ทดแทน และร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบของรัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาลลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)เห็นชอบ คาดว่ามีผลบังคับใช้ในอีก 2 เดือน

พล.อ.ศิริชัย กล่าวว่า สำหรับร่างกฏหมายทั้งหมดดังกล่าว เพื่อช่วยเหลือแรงงานนอกระบบที่ไม่มีนายจ้าง เช่น หาบเร่ แผงลอย ผู้ขับแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ทำงานในบ้าน ให้มีระบบประกันตนชดเชยด้านต่างๆ เพื่อต้องการให้เป็นของขวัญวันแรงงานวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ ด้วยการเพิ่มสิทธิประโยชน์ ได้แก่ การเพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เพิ่มเป็นวันละ 300 บาท สำหรับกรณีนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่วันแรกที่นอนโรงพยาบาล

 

 

 

ส่วนกรณีไม่ได้นอนพักแต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ได้รับเงินวันละ 200 บาท และหากใบรับรองแพทย์ให้หยุดพัก 1-2 วัน ได้รับเงินทดแทนวันละ 50 บาท แต่ไม่เกินคนละ 3 ครั้งต่อปี รวมทั้งยังเพิ่มเงินสงเคราะห์กรณีตาย 3,000 บาท เมื่อส่งเงินสมทบครบ 60 เดือน และได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท ส่วนกรณีสงเคราะห์บุตร จ่ายคนละ 200 บาทต่อเดือน ครั้งละ 2 คน กรณีชราภาพ ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ หากส่งเงินสมทบ 180 เดือน นอกจากเงินสมทบของตนเองพร้อมผลตอบแทนแล้วยังได้รับเงินเพิ่มหรือเงินโบนัส 10,000 บาทต่อราย

สำหรับการจ่ายเงินสมทบให้เลือกได้ 3 ทางเลือก หากจ่ายเดือนละ 70 บาท รัฐบาลจ่ายสมทบ 30 บาท ได้รับประโยชน์ทดแทน กรณีประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ และตาย หากเลือกจ่ายสมทบเดือนละ 100 บาท รัฐบาลจ่ายสมทบ 50 บาทต่อเดือน ได้เพิ่มสิทธิบำเหน็จชราภาพ หากเลือกจ่ายสมทบ 300 บาท รัฐบาลสมทบ 150 บาท ได้รับสิทธิเพิ่มอีก รวมถึงการสงเคราะห์บุตร โดยร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ คาดว่ามีผลบังคับใช้ 2-3 เดือนข้างหน้า สำหรับบุคคลต้องการสมัครเข้าเป็นสมาชิกประกันตนตามมาตรา 40 ต้องมีสัญชาติไทย อายุมากกว่า 15 ปี หรือชนกลุ่มน้อยอาศัยในประเทศไทยตามมติ ครม. ไม่เป็นผู้ประกันตนตามตรา 39 ซึ่งทำงานในบริษัทเอกชน ไม่เป็นสมาชิก กบข. รัฐวิสาหกิจ หรือกองทุนอื่นของรัฐช่วยเหลือ ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องการส่งเสริมแรงงานนอกระบบมาสมัครเข้าเป็นสมาชิกผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เพียงนำบัตรประชาชนมาสมัครที่สำนักงานประกันสังคมโดยไม่ต้องตรวจร่างกาย และยังใช้สิทธิรักษาบัตรทอง หากขาดเงินสมทบยังเป็นสมาชิกต่อได้ โดยรัฐบาลร่วมจ่ายสมทบผู้ประกันตนให้ด้วย ปีแรกคาดว่ามีผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก 3 ล้านคน เป็นภาระงบประมาณ 400 ล้านบาท จากนั้นในช่วง 20 ปีข้างหน้า ตั้งเป้าหมายดึงแรงงานนอกระบบเข้าเป็นสมาชิก 20 ล้านคน ส่งผลต่อภาระงบประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อปี เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้วจ่ายเงินสมทบได้ตามเคาน์เตอร์เซอร์วิส บริษัทไปรษณีไทย หรือตู้เติมเงินต่างจังหวัด เพื่ออำนวยความสะดวกแรงงานนอกระบบสมัครเข้าเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ สำนักงานประกันสังคม ยังเพิ่มสิทธิประโยชน์บริการทางการแพทย์ รวม 12 รายการ เช่น

1.ปรับเงื่อนไขคุณสมบัติสถานพยาบาลที่ผ่าตัด ใส่เครื่องกระตุกไฟฟ้าอัตโนมัติเพื่อเพิ่มจำนวนสถานพยาบาล

2.เพิ่มวงเงินสำหรับการผ่าตัดเตรียมเส้นเลือดเพื่อการฟอกไต หรือ วางท่อรับ-ส่งน้ำยาล้างช่องท้อง เพิ่ม 10,000 บาท จากเดิม 20,000 บาทต่อ 2 ปี

3.เพิ่มการเข้าถึงยากระตุ้นเม็ดเลือดแดงในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายโดยเพิ่มรายการยาจากเดิม 9 รายการ เป็น 11 รายการ

4.เพิ่มการเข้าถึงยาของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ในระยะแรกเพื่อให้ผู้ประกันตนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสามารถทำงานและใช้ชีวิตเช่นคนปกติ

5.เพิ่มการเข้าถึงยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน และผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

6.เพิ่มประโยชน์ทันตกรรม กรณี อุดฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน จาก 600 บาท เป็น 900 บาทต่อคนต่อปี และให้ผู้ประกันตนสามารถเข้ารักการรักษา ในสถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคมโดยไม่ต้องสำรองจ่าย 7.เพิ่มอัตราการผ่าตัดอวัยวะกระจกตา จากเดิม 25,000 บาท เป็น 50,000 บาท เป็นต้น

ใส่ความเห็น