หลายคนหารู้ไม่ว่า ทิชชูชมพูในกล่องไม้จิ้มฟันที่แสนคุ้นตาคนไทยนั้นผลิตมาจากสิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยไม่สะอาดมาก่อนเช่นกัน
ทำไมทิชชู่ต้องชมพู
หากเราหลับตานึก ‘ภาพข้าวของสีชมพู’ ในชีวิตคนไทย เราจะค้นพบว่า สีชมพูเป็นสีที่คุ้นตาในชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่สีชมพูหวานๆ ของน้ำยาอุทัยทิพย์ จนเป็นถึงสีชมพูเผ็ดร้อนของเย็นตาโฟ
ทิชชู ก็เช่นกัน ท่ามกลางสีสันสะอาดตามากมายที่มีให้เลือกผสม ‘สีชมพู’ กลับเป็นสีที่ถูกเลือกให้ผสมกับอดีตเศษกระดาษเปื้อนหมึก จนกลายมาเป็นไอคอนแห่งทิชชูตามร้านอาหารไทยจนถึงทุกวันนี้
กระดาษรีไซเคิลเกรดต่ำ ที่มาของกระดาษทิชชูสีชมพู
ทิชชู่สีชมพู เป็นกระดาษทิชชู่เกรดต่ำ ราคาถูก ทำมาจากกระดาษขนาดเอ4 ที่ใช้แล้ว เป็นกระดาษที่ปนเปื้อนหมึกพิมพ์ จะมีการพิมพ์อะไรต่างๆ นานา แล้วนำมาบดทำลายเป็นเส้นเล็กๆ
ข้อแตกต่างกับทิชชูชนิดอื่น
อยู่ตรงที่ ยิ่งทิชชูคุณภาพดีเท่าไหร่ สัดส่วนการผสมเอ 4 รีไซเคิลลงไปก็จะน้อยลงเท่านั้น เพราะจะมีปริมาณเยื่อไม้มากขึ้น จึงทำให้เนื้อทิชชูคุณภาพดีมีความนุ่มละเอียดสูง ไม่สาก แต่ราคาแพง
ก่อนนำเอ 4 รีไซเคิลมาใช้ มันจะถูกทิ้งลงไปในหม้อต้มเพื่อดึงหรือดูด เอา “หมึก” ออกไป เรียกว่าขั้นตอน “ดี-อิงก์” ทั้งยังต้องผ่านความร้อนถึง 200 องศาเซลเซียส ฉะนั้นไม่ว่าเชื้อโรค สิ่งสกปรกใดๆ ก็ไม่มีทางเล็ดรอดผ่านกระบวนการนี้ไปได้ ส่วนจุดประสงค์การใส่ “สี” ก็เพื่อกลบเนื้อของทิชชูที่ดูไม่ค่อยนวล และทำให้ดูน่าใช้ยิ่งขึ้น
ป.ล. ให้พิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสมนะคะ