ไม่พลาดข่าวสาร กดแอดไลน์ ติดตามเรา
ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชบัญญัติ ย า เ ส พ ติ ด ให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 โดยระบุว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อกำหนดมาตรการในการควบคุม ย า เ ส พ ติ ด ใ ห้โทษในประเภท 5 ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและสอดคล้องตามหลักสากล ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 ขึ้นไว้ และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป”
ทั้งนี้ ในพ.ร.บ.ดังกล่าว ระบุถึง เหตุผล ในการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ว่า เนื่องจาก พ.ร.บ. ย า เ ส พ ติ ด ให้ โ ท ษ พ.ศ.2522 ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน และมีบางบัญญัติที่ไม่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน นอกจากนี้ปรากฏผลการวิจัยว่าสารสกัดจาก กั ญ ช า และพื ช ก ร ะ ท่ อ ม มีประโยชน์ทางการแพทย์เป็นอย่างมาก ซึ่งตาม พ.ร.บ. ย า เ ส พ ติ ด ใ ห้ โ ท ษ พ.ศ.2522 กั ญ ช า และ พืชก ร ะ ท่ อ ม เป็น ย า เ ส พ ติ ด ให้โทษในประเภท 5 ที่ห้ามไม่ให้ผู้ใด เ ส พ หรือนำไปใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยหรือนำไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ และยังกำหนดโทษทั้งผู้เสพและผู้ครอบครองด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นการรับรองและคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยที่จะได้รับและใช้ กั ญ ช า เพื่อประโยชน์ในการรักษาและพัฒนาทางการแพทย์ ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้ได้รับอนุญาต เพื่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ให้ทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านยาของประเทศ และป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาดทางด้าน ย า สมควรแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ย า เ ส พ ติ ด ใ ห้โทษ พ.ศ.2522 เพื่อเปิดโอกาสให้นำ กั ญ ช า และ พืช ก ร ะ ท่ อ ม ไปทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และใช้รักษาโรคภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์ได้
สำหรับสาระสำคัญที่น่าสนใจ อาทิ การกำหนดให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ อธิบดีกรมสุขภาพจิต นายกแพทยสภา นายกสภาการแพทย์แผนไทย และนายกสภาเภสัชกรรม เป็นกรรมการควบคุม ย า เ ส พ ติ ด ใ ห้ โทษด้วย เฉพาะในวาระที่เกี่ยวกับ กั ญ ช า และพื ช ก ร ะ ท่ อ ม รวมถึงมาตรา 20 ที่บัญญัติภายในระยะเวลา 3 ปีนับแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการควบคุม ย า เ ส พติ ดฯ ประเมินผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุญาตให้ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมี กั ญ ช า และ พืช ก ร ะ ท่ อ ม ไว้ในครอบครองทุก 6 เดือน ขณะที่มาตรา 21 ในวาระเริ่มแรกภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ การขอรับใบอนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออกเฉพาะ กั ญ ช า เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือการรักษาผู้ป่วย ให้อนุญาตได้เฉพาะกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ. ย า เ ส พ ติ ด ให้ โ ท ษ พ.ศ.2522
นอกจากนี้ ผู้ใดที่มี กั ญ ช า ไว้ในครอบครองเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ การรักษาผู้ป่วย การใช้รักษาโรคเฉพาะตัว หรือการศึกษาวิจัย อยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ ไม่ต้องรับโทษโดยจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและ ย า (อย.) ภายใน 90 วัน นับแต่ วันที่ พ.ร.บ.นี้ ใช้บังคับ แต่ถ้ากรณีที่ไม่ได้รับอนุญาต ให้กัญชานั้นตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุขหรือให้ทำลาย
ไม่พลาดข่าวสาร กดแอดไลน์ ติดตามเรา