ล่าสุดมีข่าวออกมาว่า มีลุงวัย 44 ปี ขับรถกระบะย้อนสอน ทำให้ชนผู้คนบาดเจ็บมากมาย และมีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุด้วย ลุงได้ให้ความว่า เป็นโรคลมชัก ตอนนี้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กำลังหารือแพทย์เรื่องการที่จะยกเว้น 5 โรค ได้แก่ ลมชัก, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ผ่าตัดสมอง และกล้ามเนื้อหัวใจตาย ในการสอบใบขับขี่ เราไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่างพร้อมๆ กัน
มาดูบุคคลที่ไม่สามารถทำใบขับขี่ได้ ซึ่งใบอนุญาติขับขี่รถยนต์ แน่นอนว่ากว่าจะได้มานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ล่าสุดทาง กรมการขนส่งก็ได้เปลี่ยนรูปแบบการสอบและการต่อใบขับขี่ใหม่ที่ทำได้ยากขึ้น พร้อมเพิ่ม 5 โรคต้องห้ามทำใบขับขี่ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนให้มากขึ้นกว่าเดิม
จากกรณีของนาย นายอัครเดช อุดมรัตน์ อายุ 44 ปี ชาว จ.ชลบุรี พกใบอนุญาตขับรถหรือที่เรียกกันติดปากว่า “ใบขับขี่” ซิ่งกระบะ ย้อนศรพุ่งชนรถจักรยานยนต์ (จยย.) หลายคัน บาดเจ็บกันระนาว 15 ราย เสียชีวิตอนาถอีก 2 ราย บนถนนพัทยาใต้ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี โดยให้การกับตำรวจว่าเป็น “โรคลมชัก”
เป็นที่มาทำให้ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ถูกสังคมตั้งคำถามเรื่อง การสังคายนาระบบใบขับขี่?? ขณะที่ผู้บริหาร ขบ. ก็ออกมาระบุทันควันว่ากำลังหารือแพทย์สภาพิจารณาเพิ่ม โรคต้องห้ามในการทำใบขับขี่อีก 5 โรค อาทิ ลมชัก, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ผ่าตัดสมอง และกล้ามเนื้อหัวใจตาย
จากที่เคยกำหนดไว้แค่ 5 โรค ได้แก่ โรคเท้าช้าง, วัณโรค, โรคเรื้อน, พิษสุราเรื้อรัง และโรคติดยาเสพติดให้โทษ โดยแพทย์สภาจะกำหนดกฎเกณฑ์หรือสภาวะของผู้ป่วยที่เข้าขั้น “เป็นโรค” เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือด หรือความดันโลหิตที่เข้าขั้นเป็นโรค ซึ่งยังไม่ตกผลึก
สถิติของ ขบ. ปัจจุบันมีใบอนุญาตขับรถทั่วประเทศ 31,501,237 ใบ แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 4,762,029 ใบ ส่วนภูมิภาค 26,739,208 ใบ เป็นใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ 29,671,371 ใบ กรุงเทพฯ 4,629,393 ใบ ส่วนภูมิภาค 25,041,978 ใบ
ด้านนายวัลลภ งามสอน ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิภาพ กรมการขนส่งทางบก บอกว่าเบื้องต้นในเดือน มิ.ย. ปี 61 ระบบการสอบใบขับขี่จะใช้วิธีสแกนลายนิ้วมือ เหมือนการทำพาสปอร์ต คือสแกนนิ้วโป้งและนิ้วชี้ทั้ง 2 มือ เพื่อยืนยันตัวตน และป้องกันการสอบแทนกัน
โดยต้องนำบัตรประชาชนมาแสดงก่อนเข้าสอบ ขั้นตอนเริ่มตั้งแต่การอบรมทั้งการสอบทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมทั้งตรวจสอบสมรรถภาพร่างกาย 4 ด้าน ได้แก่ การมองเห็น ประสิทธิภาพในการใช้เท้า เรื่องตาบอดสี ระยะมองเห็นทางลึก และทางกว้าง
การสอบภาคทฤษฎีแต่ละวิชาต้องผ่าน 80 % แต่รวมทุกวิชาแล้วต้องไม่ต่ำกว่า 90 % รวมทั้งการสอบขับรถ จะใช้ “ระบบอีไดร์ฟวิ่ง”
คือใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการวัดระยะ เช่น การจอดรถชิดฟุตบาทต้องมีระยะห่างไม่เกิน 25 ซม. หรือการถอยรถเข้าซอง จะมีรอบการหมุนรอบพวงมาลัยกำหนดไว้ เป็นระบบเซ็นเซอร์ใช้มาตรฐานเดียวกันกับสำนักงานขนส่งทั่วประเทศ
ตลอดจน โรงเรียนสอนขับรถ ที่ได้รับอนุญาตจากกรมฯ ทั้งหมด 150 แห่งทั่วประเทศ โดยไม่ใช้คนมาทดสอบอีกต่อไปเพื่อป้องกันข้อโต้แย้งในการใช้ดุลยพินิจ จะเริ่มทดลองก่อนในเดือน มี.ค.61 หากสอบตกวิชาไหนจะให้ซ่อมวิชานั้นเป็นรายวิชา ไม่ปรับตกทั้งหมด
สำหรับการสอบข้อเขียนจะใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันนำมาใช้แล้ว แต่จะปรับปรุงซอฟแวร์ของข้อสอบให้เป็นลักษณะคิดวิเคราะห์มากขึ้น เพราะปัจจุบันเป็นข้อสอบแบบท่องจำมากกว่า
ปัจจุบันนอกจากใบรับรองแพทย์ยืนยันว่า “ไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ” ซึ่ง ได้แก่ วัณโรค, โรคเท้าช้าง, โรคเรื้อน, โรคพิษสุราเรื้อรัง และติดยาเสพติดให้โทษแล้ว ผู้ขอใบขับขี่ยังจะต้องผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ได้แก่ การทดสอบการมองเห็นสี ทดสอบสายตาทางลึกและทางกว้าง และทดสอบปฏิกิริยาเท้า
ผู้ขอใบขับขี่รถยนต์ครั้งแรกจะต้องผ่านการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยจะต้องทำข้อสอบภาคทฤษฎีให้ได้อย่างน้อย 45 ข้อจากทั้งหมด 50 ข้อ ก่อนที่จะขับรถในสนามสอบทั้งหมด 3 ท่า
ซึ่งสามารถสอบเสร็จทั้งหมดได้ภายใน 1 วัน นอกจากนี้ ไทยโพสต์ ยังรายงานว่า กรมการขนส่งทางบก มีแผนจะเริ่มใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือเพื่อยืนยันตัวผู้สอบและป้องกันการเข้าสอบแทนกันภายใน มิ.ย. 2561
ผู้ขอใบขับขี่ครั้งแรกจะได้รับใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราวที่มีอายุ 1 ปี ก่อนจะสามารถเปลี่ยนเป็นบัตรชนิด 5 ปี โดยต้องทดสอบสมรรถภาพร่างกายอีกครั้ง หลังจากนั้นสามารถต่ออายุได้อีกทุก 5 ปี โดยจะมีการเข้าอบรม 1 ชั่วโมงเพื่อเตือนความจำเกี่ยวกับการขับรถที่ถูกต้อง
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ การที่จะสอบใบขับขี่นั้น มีขั้นตอนมากมาย รู้ไหมว่าทำไมต้องยุ่งยากขาดนี้ “ก็เพราะเขาเป็นห่วงพวกคุณไงคะ”