ย่านางแดง สมุนไพรไทย มาชวนทำน้ำดื่มเพื่อสุขภาพ บำรุงโลหิต ลดน้ำตาลในเลือด
ย่านางแดง
ย่านางแดง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น โดยมีความยาวประมาณ 5 เมตร เปลือกเถาเรียบ เถามีขนาดกลาง ๆ และมักแบนมีร่องตรงกลาง เปลือกเถาเป็นสีออกเทาน้ำตาล ส่วนเถาแก่มีลักษณะกลมและเป็นสีน้ำตาลแดง มีมือสำหรับการยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ๆ ปลายม้วนงอ ส่วนรากมีผิวขรุขระสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีรอยบากตามขวางเล็ก ๆ ทั่วไป ลักษณะของเนื้อไม้ภายในรากเป็นสีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการแยกหัว ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค โดยสามารถพบต้นย่านางแดงได้ตามป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าแดง ป่าดิบเขา และตามที่โล่งแจ้ง
สรรพคุณของย่านางแดง
1.เถาย่านางแดงช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เถา)
2.ช่วยบำรุงหัวใจ แก้โรคหัวใจบวม (เถา)
3.ช่วยดับพิษร้อนภายในร่างกาย (เถา)
4.ช่วยแก้อาการท้องผูกไม่ถ่าย ด้วยการใช้ฝนกับน้ำหรือน้ำซาวข้าว หรือนำมาต้มกับน้ำดื่ม (เถา, ราก, ใบ)
5.รากหรือเหง้าใช้เป็นยาแก้ไข้ ใช้กระทุ้งพิษไข้ ถอนพิษไข้และแก้ไข้ทั้งปวง โดยใช้เหง้านำมาฝนกับน้ำหรือน้ำซาวข้าว หรือจะต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาก็ได้ (ราก, เหง้า) ส่วนเถาใช้เป็นยาแก้ไข้พิษ แก้ไข้หมากไม้ ไข้กาฬ ไข้หัว ไข้สุกใส ไข้เซื่องซึม ไข้ป่าเรื้อรัง ไข้ทับระดู และไข้กลับไข้ซ้ำ (เถา)
6.ใช้เป็นยาแก้พิษทั้งปวง แก้พิษเบื่อเมา พิษเบื่อเมาของเห็ด ถอนพิษยาเมา แก้เมาสุรา แก้ยาเบื่อ ยาสั่ง ถอนพิษผิดสำแดง โดยใช้เหง้านำมาฝนกับน้ำหรือน้ำซาวข้าว หรือจะต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาก็ได้ (เถา, ราก, เหง้า, ใบ)
7.ช่วยล้างสารพิษหรือสารตกค้างจากยาฆ่าแมลงในร่างกาย หรือเกิดอาการแพ้ต่าง ๆ ด้วยการใช้ใบหรือเถานำมาต้มดื่มเป็นประจำหรือใช้กินแทนน้ำ ก็จะช่วยลดอาการดังกล่าวได้ (ใบ, เถา)
8.ช่วยล้างสารพิษจากยาเสพติด ซึ่งหมอพื้นบ้านบางแห่งได้นำรากหรือเถามาฝนให้ผู้ป่วยที่กำลังเลิกยาเสพติดดื่ม เพื่อช่วยล้างพิษของยาเสพติดในร่างกาย (เถา, ราก)
9.ช่วยขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง (เถา, ราก, ใบ)
10.ลำต้นหรือรากใช้เข้าเป็นยาบำรุงโลหิตสำหรับสตรีหลังการคลอดบุตรขณะอยู่ไฟ จะช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น (ลำต้น, ราก)
11.มีข้อมูลระบุว่าสมุนไพรย่านางแดงสามารถนำมาใช้เป็นยาฆ่าเชื้อราได้ (ใบย่านางแดงแคปซูล)
12.ย่านางแดงมีสรรพคุณเหมือนกับย่านางเขียวหรือย่านางขาวทุกประการ แต่จะมีฤทธิ์ที่แรงกว่าและดีกว่า (โดยส่วนใหญ่สมุนไพรที่มีสีเข้มกว่าจะมีสารสำคัญที่มีคุณภาพมากกว่า) โปรดอ่านสรรพคุณเพิ่มเติมที่ สรรพคุณและประโยชน์ของใบย่านาง 68 ข้อ !
วิธีทำน้ำใบย่านาง
ย่านาง เป็นสมุนไพร ที่มีคุณสมบัติปรับสมดุลในร่างกาย เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น น้ำคั้นจากใบย่านางเป็นคลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติและยังมีแคลเซียมและวิตามินซีจำพวก เอ, บี 1, บี 2 และ เบต้า-แคโรทีน ค่อนข้างสูง
น้ำใบย่านาง สามารถลดความอ้วน,แก้โรคเบาหวาน,ความดัน,หัวใจ มะเร็ง, ภูมิแพ้,ร้อนใน,ไซนัสจมูกตัน,ไมเกรน,ริดสีดวงทวาร,ปอดร้อนนอนกรน กรดไหลย้อน ฯลฯ
รากของเถาย่านาง นั้นสามารถช่วยถอนพิษผิดสำแดงและพิษอื่น ๆ แก้เมาเรือ แก้เมาสุรา แก้โรคหัวใจและแก้ลม ใบก็ช่วยถอนพิษและแก้ไข้
วิธีทำ
1.ใช้ใบย่านาง 30-50ใบ ต่อน้ำ4ลิตรครึ่ง ผสมใบเตย-10ใบ
2.ตัดหรือฉีกใบย่านางและใบเตยให้เล็กลง แล้วนำไปโขลกให้ละเอียด หรือ ขยี้ หรือนำไปปั่นด้วยเครื่องปั่น ควรใช้ระยะเวลาไม่นาน 30 วินาที – 1 นาที ก็เพื่อให้ผ่านความร้อนน้อยที่สุด เพื่อคงคุณค่ามากที่สุด
3.แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง หรือตะแกงตาถี่ (ที่ร่อนแป้งด้ามพาสติก) กรองเอาแต่น้ำสีเขียว แล้วนำไปดื่มแทนน้ำได้ทั้งวัน ที่เหลือให้เก็บไว้ในตู้เย็นไว้ดื่มได้4-5วัน ถ้ารสชาดเปลี่ยนสรรพคุณจะเริ่มเสื่อมแล้ว ถ้าเสียแล้วจะเริ่มมีรสเปรี้ยวให้ทิ้งไป
วิธีกิน
1.ดื่มน้ำย่านางสด ๆ ครั้งละประมาณครึ่งแก้ววันละ 1-3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่างหรือจะดื่มแทนน้ำก็ได้ บางครั้งสามารถผสมน้ำมะพร้าว น้ำตาล น้ำมะนาว ในรสชาติไม่จัดเกินไปเพื่อให้ดื่มง่ายขึ้นก็ได้ครับ ถ้าต้องการให้หายเร็ว ก็ให้ดื่มวันละ1.5ลิตรขึ้นไป
2.สิ่งสำคัญคือความพอดีของร่างกาย บางคนดื่มน้ำย่านางแล้วรู้สึกแพ้ ผะอืดผะอม จึงควรกลับไปดูว่าปริมาณการดื่มและมีความเข้มข้นของสมุนไพรนั้นเหมาะสมกับตัวเราหรือไม่และควรลดปริมาณดื่มลงมาแบบพอดีกับที่ร่างกายที่เราต้องการ
3.เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการดื่มน้ำย่านาง ผู้ที่เป็นมะเร็ง, เบาหวาน,โรคอ้วน,ไขมันในเลือดสูง ห้ามกินอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น พริกไทย,กะเพรา,ขิง,ข่า,ใบมะกูด ฯลฯ และอาหาร รสจัด เช่นหวานจัด,เผ็ดจัด, เค็มจัด,มันจัด,อาหารปิ้ง,ย่าง,ทอด,อบด้วยความร้อนสูง เพราะอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน จะทำให้โรครุนแรงขึ้น
โบราณท่านว่าเป็นของแสลงครับ (พืชผัก, ผลไม้,เนื้อสัตว์ ที่มีสารเคมีตกค้าง มีพิษ ฤทธิ์ร้อนมาก) คนที่ดื่มแล้ว ร่างกายเกิดภาวะเย็นเกินไป ควรเติมน้ำร้อนหรือนำไปต้มก่อน แล้วดื่มตอนอุ่นๆครับ
ชมคลิปวีดีโอ : ย่านางแดง สมุนไพรไทย มาชวนทำน้ำดื่มเพื่อสุขภาพ บำรุงโลหิต ลดน้ำตาลในเลือด
เอกสารอ้างอิง
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ขยัน (Khayan)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 58.