รถยนต์เกิน 7 ปี ต่อภาษีออนไลน์ได้ ไม่ต้องไปขนส่ง

ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ เวอร์ชันรถอายุเกิน 7 ปี ในปี 2566 โดยไม่ต้องไปขนส่ง และต้องซื้อ พ.ร.บ. และประกันภัยรถยนต์ ทำอย่างไรบ้าง เราจะมาแนะนำ

กรมการขนส่งทางบก เปิดช่องทางให้ผู้ใช้รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ยื่นเสียภาษีประจำปี ทั้งรถใหม่ และรถเก่าที่มีอายุการใช้งาน 7 ปีขึ้นไป หรือรถมอเตอร์ไซค์อายุเกิน 5 ปี ก็สามารถยื่นเสียภาษีออนไลน์ได้ แต่ต้องได้รับการตรวจ ตรอ. หรือสถานตรวจสภาพรถเอกชนเสียก่อน และต้องซื้อพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอีกด้วย

>> ซื้อขายพรบ.รถยนต์ (คลิกเลยที่นี่)

การต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ในข้อจำกัดพิเศษคือ รถยนต์อายุ 10 ปี และลืมยื่นเสียภาษีตั้งแต่ปี 63 แต่ไม่ลืมต่อพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และซื้อประกันภัยรถยนต์ โดยขั้นตอนการยื่นภาษีมีดังนี้

1.เข้าสู่เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf จากนั้นก็กดสมัครสมาชิกก่อน สำหรับใครที่ยังไม่เคยลงทะเบียน โดยการตั้งรหัสผ่านจะต้องมีตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็ก และตัวเลขด้วย แต่ใครที่เคยลงทะเบียนแล้วให้กรอกเลขที่บัตรประชาชน และใส่รหัสผ่าน

 

 

 

2.เมื่อกรอกรายละเอียดเสร็จแล้ว ล็อกอินเข้าระบบเสร็จแล้วให้กด บริการยื่นชําระภาษีรถยนต์ประจำปี พอกดเข้ามาแล้วจะเห็นว่าหน้าจอว่างเปล่า ไม่มีข้อมูลอะไร

3.เราก็เลือกประเภทรถ จังหวัดที่จดทะเบียน ทะเบียนรถ และชื่อผู้ครอบครอง ระบบก็จะขึ้นข้อมูลมากดบันทึกก็เสร็จเรียบร้อย

4.ระบบก็จะขึ้นรายละเอียดการยื่นชำระภาษีแบบที่เห็น จากนั้นก็กดยอมรับ

 

 

5.ระบบก็จะเด้งหน้านี้มาให้เรากรอกข้อมูลเพิ่มเติม ย้ำก่อนว่า รถอายุเกิน 7 ปีต้องตรวจตรอ.มาก่อน ซึ่งสมัยนี้ข้อมูลการตรวจคุณภาพการใช้งานของรถนั้นจะอัปโหลดมาที่กรมการขนส่งฯ อัตโนมัติ เช่นเดียวกับข้อมูลการซื้อพ.ร.บ. ซึ่งกรมการขนส่งฯ มีให้เลือกซื้อหากใครยังไม่ได้ต่อ เพราะการเสียภาษีรถยนต์นั้นจะต้องซื้อพ.ร.บ.ก่อนไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถเสียภาษีได้

 

>> ซื้อขายพรบ.รถยนต์ (คลิกเลยที่นี่)

 

6.จากนั้นระบบจะขึ้นให้เรากรอกสถานที่จัดส่งเอกสารอีกครั้ง

7.จะเห็นได้ว่า การยื่นภาษีครั้งนี้มีค่าปรับจำนวน 356.50 บาท เนื่องจากจ่ายภาษีล่าช้า ซึ่งค่าปรับนี้คิดเป็น 1% ของภาษีรถยนต์ต่อเดือน และค่าส่งเอกสารอีก 32 บาท จากนั้นก็กดตกลง

 

 

8.ระบบก็จะขึ้นเตือนว่า การยื่นภาษีนี้จะต้องชำระภายในเวลาที่กำหนด หากพ้นวันที่กำหนดระบบจะยกเลิกรายการยื่นภาษีแบบอัตโนมัติ และจะต้องดำเนินการยื่นภาษีใหม่อีกครั้ง เราก็กดตกลง

 

 

9.จากนั้นระบบก็จะขึ้นให้เลือกชำระเงินผ่านช่องทางไหน ซึ่งผู้เขียนเลือกช่องทางชำระผ่านบัตรเครดิต แต่จะโดนค่าธรรมเนียม 2% จากยอดชำระ แต่ก็ถือว่าสะดวกที่สุด เนื่องจากผู้เขียนไม่มีบัญชีของทั้ง 3 ธนาคาร

10.หลังทำระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตเสร็จ ระบบก็จะขึ้นแบบนี้

11.หลังจากนั้นเราก็เข้าไปตรวจสอบการชำระภาษีก็จะพบว่ากำลังดำเนินการ

12.สองวันให้หลังจากยื่นเสียภาษีรถยนต์ ก็พบว่า ระบบขึ้นว่าเอกสารกำลังจัดส่ง ถือว่าเร็วพอสมควร เนื่องจากผู้เขียนยื่นเสียภาษีในวันเสาร์ เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า เสาร์-อาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ

 

 

 

หากปล่อยให้ทะเบียนรถขาด หรือไม่ได้ยื่นจ่ายภาษีรถยนต์เกิน 3 ปีขึ้นไปจะไม่สามารถทำธุรกรรมเกี่ยวกับรถยนต์ได้ ยกเว้นการขายต่อเท่านั้น โดยกรมการขนส่งทางบกจะส่งจดหมายมาแจ้งว่าจะแจ้งจอดแล้ว และป้ายทะเบียนรถของเราก็จะถูกยกเลิก ต้องติดต่อกลับภายใน 30 วันและเสียค่าปรับ 1,000 บาทป้ายทะเบียนถึงจะกลับมาใช้ได้ดังเดิม

 

ใส่ความเห็น