ในปี ค.ศ. 1942 กรณีผู้ประสบภัยชื่อ Poon Lim ลูกเรือเรือ SS Benlomond ชาวจีนที่ใช้ชีวิตคนเดียวอยู่ในแพไม้ (พาเลทไม้) พร้อมสิ่งของยังชีพ และสามารถอยู่ในทะเลได้นานถึง 133 วัน
อีกกรณีที่โด่งดังไม่แพ้กัน คือ Dougal Robertson นักเขียนและกะลาสีชาวสกอต ที่ประสบเหตุเรือแตกเพราะถูกวาฬเพชรฆาตจู่โจม ในปี ค.ศ.1972 ทำให้เขาและครอบครัวต้องใช้ชีวิตบน แพชูชีพ ลอยกลางทะเลเป็นเวลา 38 วัน
จึงถือได้ว่า “แพชูชีพ” คือ ที่กำบังชั้นดี และสิ่งของยังชีพที่อยู่ในแพชูชีพ ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ใช้ยืดระยะเวลาให้นานที่สุดเพื่อรอคอยความช่วยเหลือ
โครงสร้างภายนอกแพชูชีพ
1. ตัวแพชั้นบนและล่าง
2. ฐานแพ
3. กระโจมแพ
4. ถุงใส่น้ำ เพื่อถ่วงแพ
5. เชือกติดกับแพ เพื่อใช้ช่วยผู้ประสบภัยคนอื่นเกาะ หรือมัดกับแพชูชีพหลังอื่น
6. บันไดลิง
7. โครงเหล็กตั้งกระโจม
อุปกรณ์ภายในแพชูชีพ
1. ห่วงช่วยชีวิตพร้อมสาย
2. มีดหรือกรรไกร
3. ฟองน้ำใช้ซับน้ำออก ทำให้ภายในแพชูชีพแห้งตลอดเวลา
4. สมอเรือขนาดเล็ก
5. ไม้พาย
6. อุปกรณ์ซ่อมแพชูชีพ (ยาง แปรง กาว)
7. ที่สูบลม
8. ชุดปฐมพยาบาล
9. ไฟฉาย
10. กระจกส่งสัญญาณ (สะท้อนแสงอาทิตย์)
11. นกหวีด
12. เครื่องมือส่งสัญญาณ
13. พลุไฟ-ควัน (พลุไฟใช้กลางคืน, พลุควันใช้กลางวัน)
14. เบ็ดตกปลา
15. เสบียงอาหาร
16. เชือก
17. สมุดคู่มือความปลอดภัย
ทั้งนี้ อุปกรณ์ในแพชูชีพแต่ละรุ่น อาจจะไม่เหมือนกันทั้งหมด เนื่องจากบริษัทที่ผลิตแพชูชีพและคำสั่งซื้อที่ต่างกันไป
ที่มา : คู่มือแพชูชีพพองลมด้วยแก๊ส คำแนะนำทางช่าง กรมอู่ ทหารเรือ